Page 145 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 145
141
06-06 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : ผลของการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกายโดยใช้ยางยืดผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม
ผู้นำเสนอ : สันติภาพ พึ่งอ่ำ และคณะ
E-mail : Nahsbuu@gmail.com
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 0287 4016
หน่วยงาน : กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : จากการสำรวจข้อมูลผู้ป่วยที่มารับการรักษาทางกายภาพบำบัด ณ กลุ่มงานเวชกรรม
ฟื้นฟู โรงพยาบาลวังน้ำเขียว ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2559 จนถึง ปี พ.ศ.2561 มีจำนวน 17 20 และ 30 คน พบว่าจำนวนผู้
ที่มารับบริการที่เป็นภาวะข้อเข่าเสื่อมมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ ภาวะข้อเข่าเสื่อมนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ
ปวดและจำกัดการทำกิจวัตรประจำวัน อาการปวดเข่าจะไปส่งผลต่อการจำกัดความสามารถต่าง ๆ อีกหนึ่งปัญหา
สำคัญที่มักพบคือกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอ่อนแรงซึ่งส่งผลต่อการทำกิจวัตรเช่นกัน ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาข้อมูลจาก
งานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมซึ่งพบว่าการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมนั้นมีทั้งการใช้ยา การผ่าตัด และการ
รักษาแบบอนุรักษ์วิธี และจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยการเพิ่มความแข็งแรงยังเป็นวิธี
ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน การใช้ยางยืดเป็นการออกกำลังกายที่เพิ่มความแข็งแรง ยางยืดนั้นมีราคาไม่แพง และนำไปใช้ได้
ง่าย ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงสนใจเกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดในผู้ที่มีภาวะ
ข้อเข่าเสื่อมที่มารับบริการ เพื่อที่จะพัฒนาเป็นโปรแกรมการรักษาในภาวะข้อเข่าเสื่อมทางคลินิก
การดำเนินการวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบผลการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการใช้ยางยืดต่ออาการปวดข้อเข่า ภาวะข้อติด
คุณภาพชีวิต และองศาการเคลื่อนไหวในผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ศึกษาในกลุ่มผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในช่วง ม.ค–
ส.ค. 2562 จำนวน 39 คน ผ่านเกณฑ์คัดเข้า 36 คน ซึ่งถูกแบ่งโดยการสุ่มเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มควบคุมและกลุ่ม
ทดลอง กลุ่มละ 17 คน กลุ่มควบคุมได้รับทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกายตามคู่มือแบบเดิม กลุ่มทดลองได้รับ
การทำกายภาพบำบัดร่วมกับการใช้ยางยืด โดยใช้ระยะเวลาศึกษา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือเครื่อง
อัลตร้าซาวด์ แผ่นประคบร้อน การขยับดัดดึงข้อต่อ คู่มือการออกกำลังกาย และยางยืด บันทึกข้อมูลโดยใช้แบบ
ประเมินระดับความเจ็บปวด แบบประเมิน WOMAC และโกนิโอมิเตอร์ วัดองศาการเคลื่อนไหว นำผลมาวิเคราะห์โดย
ใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test และการนำผลต่างก่อนหลังการรักษาทั้งสองกลุ่มมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ
Mann Whitney U Test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P- value = 0.05
ผลการวิจัยและอภิปรายผล : ผลการศึกษากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่าผลการรักษาทั้ง 2 กลุ่มสามารถลด
อาการปวด ข้อติด เพิ่มคุณภาพชีวิต และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวได้เหมือนกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-
value < 0.05 แต่เมื่อนำผลต่างก่อนและหลังทั้ง 2 กลุ่มมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Mann Whitney U Test พบว่าการ
ทำกายภาพบำบัดร่วมกับการใช้ยางยืดเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าสามารถลดอาการปวด ลดข้อติด เพิ่ม
คุณภาพชีวิต และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ P-value < 0.05
การนำไปใช้ : นำไปใช้รักษาผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมทางคลินิก และประยุกต์ใช้ออกกำลังกายในผู้สูงอายุในชุมชน
คำสำคัญ : ภาวะข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis), ยางยืด (Elastic band), กายภาพบำบัด (Physical Therapy)