Page 152 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 152

148


               06-13  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การศึกษาตำรับสเปรย์หญ้าหมอน้อยลดอาการอยากบุหรี่ในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลภักดีชุมพล
               จังหวัดชัยภูมิ

               ผู้นำเสนอ : พนิดา มากนุษย์
               E-mail : appliedthaimed@gmail.com           เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4437 6571
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 1839 9767
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลภักดีชุมพล อำเภอภักดีชุมพล จังวัดชัยภูมิ

               บทคัดย่อ : บุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญอันดับสองของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก ในแต่ละปีผู้ไม่สูบบุหรี่หลายแสน
               คนต้อง เสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสองหรือการได้รับควันบุหรี่ในสภาพแวดล้อม งานโรคไม่ติดต่อ
               เรื้อรัง (NCD) จำเป็นต้องคัดกรองการสูบบุหรี่ในกลุ่มเสี่ยง CVD Risk โดยใช้ชาชงหญ้าดอกขาว จากผู้ป่วยที่มารับ
               บริการใช้ชาชงสมุนไพร พบปัญหา การเตรียมที่ยุ่งยาก เสียเวลา มีหลายขั้นตอน และ รสชาติฝาด เฝื่อน จึงได้คิดค้น

               ตำรับสเปรย์หญ้าหมอน้อยขึ้น ประกอบด้วยตัวยาหญ้าดอกขาว, อบเชย, กานพลู ตรีผลา และเมนทอล โดยตำรับยา
               สามารถพกพาง่าย สะดวก โดยฉีดใส่บริเวณโคนลิ้นสามารถลดอาการอยากบุหรี่ได้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับเปลี่ยน
               พฤติกรรมการสูบบุหรี่ เปลี่ยนแปลงรูปแบบชาชงหญ้าดอกขาว ศึกษาประสิทธิผลก่อนและหลังใช้และประเมินความ
               พึงพอใจ วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง One group pretest-posttest design กลุ่มตัวอย่างคือคนไข้คลินิก NCD ใน
               กลุ่มเสี่ยง CVD Risk ที่สมัครใจเข้าร่วม จำนวน 30 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบประเมินความพึงพอใจ
               และแบบทดสอบ Fagerstrom Test การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป โดยใช้
               สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบปริมาณการติดสารนิโคตินจากแบบประเมิน Fagerstrom Test
               จากการประเมินแรกรับและต่อเนื่อง 4 สัปดาห์โดยใช้สถิติอนุมาน Paired-Samples T test ผลการศึกษา ส่วนใหญ่

               เป็นเพศชาย ร้อยละ 86.7 อายุเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 31-40 ปี ค่าเฉลี่ยจำนวนมวนบุหรี่ต่อวันมากที่สุดคือ 21-30
               มวน ร้อยละ 36.7 ส่วนใหญ่สูบตามเคยชินหลังมื้ออาหาร ร้อยละ 36.7 มีความพึงพอใจในการใช้สเปรย์สมุนไพรมาก
               ที่สุดร้อยละ 93.3 มีความพึงพอใจต่อรสชาติมากที่สุด ร้อยละ 80 ตำรับยาสะดวกต่อการใช้ร้อยละ100 หลังจากสิ้นสุด
               ระยะเวลาศึกษา พบว่าผู้เข้าร่วมการศึกษางดสูบบุหรี่ด้วยการใช้ตำรับยา ร้อยละ 76.7 และยังสูบบุหรี่อยู่ ร้อยละ
               23.3 ,ค่าเฉลี่ยจำนวนมวนบุหรี่ต่อวันเหลือ <10 มวน ร้อยละ 86.7 และ สูบ 11-20 มวน ร้อยละ 13.3 ,ผู้ร่วม
               การศึกษาที่ใช้ตำรับยาดังกล่าวทดสอบการติดบุหรี่ด้วยแบบสอบถาม Fagerstrom วัดระดับการติดสารนิโคตินโดย
               การประเมินก่อนรับตำรับยาผลคะแนนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.63 แปลผลได้ว่าติดนิโคตินในระดับปานกลางและมี
               แนวโน้มอย่างมากในการพัฒนาไปเป็นการติดนิโคตินในระดับสูง แต่หลังรับตำรับยาผลคะแนนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.97
               แปลผลได้ว่า ไม่นับว่าติดสารนิโคตินโดยซึ่งมีประสิทธิผลต่อการลดระดับนิโคตินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001)

               (mean 4.667, SD1.709, t14.959, P0.000)
               คำสำคัญ:  หญ้าดอกขาว, หญ้าหมอน้อย และลดอาการอยากบุหรี่
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157