Page 132 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 132

128


               05-13  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : ผลการพัฒนาระบบเฝ้าระวังการใช้ NSAIDs ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่องกลุ่มผู้ป่วยนอก
               ผู้นำเสนอ : อริสา แสงเพ็ง
               E-mail : arisas2518@gmail.com       เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4455 1295 ต่อ 1324 ,1015
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 1790 8733    ID line : 0817908733
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์

               ความเป็นมาและความสำคัญ : ผู้ป่วยภาวะไตบกพร่องแบ่งเป็น ไตวายเฉียบพลัน และไตวายเรื้อรัง การวินิจฉัยภาวะไตเรื้อรัง
               พิจารณาจากความผิดปกติทางพยาธิสภาพของเนื้อไต ผลตรวจปัสสาวะ ผลตรวจเลือด ภาพเอกซเรย์ไต หรือการมีค่าอัตรา
               การกรอง (Glomerular filtration rate, GFR) ต่ำกว่า 60 mL/min/1.73 m2 ติดต่อกันเกิน 3 เดือน ปัจจัยเสี่ยง
               ที่ทำให้ไตบกพร่องมีหลายสาเหตุ เช่น ผู้สูงอายุ เชื้อชาติ ภาวะอักเสบ (Systemic inflammation) มีประวัติโรคไต
               ในครอบครัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง  เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ และการสูบบุหรี่ การเกิดพิษจากยา
               เป็นต้น ยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นยาแก้ปวดและลดการอักเสบ ออกฤทธิ์โดยยับยั้ง COX-1
               และ COX-2 ซึ่งควบคุมการทำงานของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงที่ไต ยาจึงมีผลต่อการทำงานของไต  ในประเด็นระบบการดูแลผู้ป่วย
               ภาวะไตบกพร่องนั้น พบว่า โรงพยาบาลปราสาทยังไม่มีการพัฒนาระบบที่สามารถช่วยให้สหวิชาชีพปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น
               และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบปัญหาการใช้เวลานานในการตรวจสอบผลการตรวจค่าการทำงานของไต
               เนื่องจากไม่มีระบบการคำนวณค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) แบบอัตโนมัติ ทำให้ใช้เวลาคำนวณ
               และอาจเกิดความคลาดเคลื่อน ประกอบกับภาระงานที่มากทำให้มีการเร่งรีบ และไม่ได้ค้นหาผู้ป่วยที่มีภาวการณ์ทำงาน
               ของไตบกพร่อง นอกจากนี้ service plan ของโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข
               ได้กำหนดให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังได้รับยา NSAIDs ไม่เกินร้อยละ 10
               กิจกรรมการพัฒนา : ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ดังนี้
                                                               2
               1) ผู้ป่วยที่มีค่า Scr ≥ 1.4 หรือ eGFR < 30 mL/min/1.73 m  ห้ามใช้ NSAIDs หากพบการสั่งใช้ให้เภสัชกรแจ้งแพทย์
                                                                         2
               เพื่อเปลี่ยนยาหรือหยุดให้ยา 2) ผู้ป่วยที่มีค่า eGFR 30-60 mL/min/1.73 m  ให้ใช้ยากลุ่ม NSAIDs ไม่เกิน ครั้งละ 5 วัน
               (เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น) และ 3) พัฒนาระบบคำนวณอัตโนมัติค่าอัตราการทำงานของไตโดยระบบเวชระเบียน และ alert
               ให้แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทราบ  และแสดงค่า SCr, CrCl, eGFR ที่ใบสั่งยาและ Drug Profile ผู้ป่วย ปรากฏข้อความเตือน
               ค่า SCr, CrCl, eGFR ที่ต้องระวังการใช้ยาท้ายชื่อยากลุ่ม NSAIDs
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
                                                     ค่าเป้าหมาย  ก่อนการ  หลังการ
                           ตัวชี้วัด         หน่วย                                2560    2561     2562
                                                      (Target)   พัฒนา   พัฒนา

                ร้อยละผู้ป่วยที่มีค่า eGFR < 60   ร้อยละ   ≤10   1.99    0.78     0.54     0.46    1.01
                L/min/1.73 m  ที่ได้รับยา NSAIDs     (เกณฑ์ RDU)                         (37ราย)   (34 ราย)
                          2

                จำนวนผู้ป่วยที่มีค่า eGFR < 30
                mL/min/1.73 m2 ได้รับยา NSAIDs   ราย    0         5       0        0        0       0

               บทเรียนที่ได้รับ : ยังพบการสั่งใช้ยา NSAIDs ในผู้ป่วยไตบกพร่องแม้จะอยู่ในค่าเป้าหมาย ทั้งนี้เกิดจากการปฐมนิเทศล่าช้า
               และไม่ครบถ้วนเนื่องจากแพทย์หมุนเวียนเร็ว แก้ไขปัญหาโดยการปฐมนิเทศให้เร็วขึ้น เภสัชกรเป็นผู้ทวนสอบ และ consult แพทย์
               และแม้ว่าการพัฒนาระบบ IT เพื่อให้เข้าถึงค่า Lab ที่สะดวกรวดเร็ว มีความแม่นยำเนื่องจากคำนวณอัตโนมัติ แต่ในกรณี
               ที่มีการเบิกยาฉีดแบบ stat ไม่ได้ใช้ใบสั่งยา อาจเกิดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยได้รับ NSAIDs ได้เนื่องจากจะไม่ทราบค่าอัตราการกรองของไต
               จึงกำหนดให้ตรวจสอบเวชระเบียนเสมอเมื่อจ่ายยา NSAIDs และกำหนดแผนพัฒนา 1) จำกัดแพทย์เฉพาะแพทย์ออร์โธปิดิกส์ที่มีสิทธิ์
               สั่งใช้ NSAIDs ในผู้ป่วยไตบกพร่อง 2) พัฒนาระบบ pop-lock ในผู้ป่วยที่มีข้อห้าม และ 3) พัฒนาระบบการเฝ้าระวังการใช้ยา
               ทุกรายการที่มีผลกับการทำงานของไตในผู้ป่วยไตบกพร่อง ครอบคลุมถึงการสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน
               คำสำคัญ : การใช้ยาอย่างสมเหตุผล  ยา NSAIDs  ผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่อง
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137