Page 136 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 136
132
05-17 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบบริการคลินิก HIV ต่อเนื่อง
เจ้าของผลงาน : นิยาวดี หลานท้าว ตำแหน่ง : เภสัชกรปฏิบัติการ
E-mail : niyawadee@hotmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4433 0105 6 ต่อ 110
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 0987 4839 ID line : noonniya30
หน่วยงาน : โรงพยาบาลหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV รับยาต้านไวรัส HIV ที่โรงพยาบาลหนองบุญมากทั้งหมด
177 คน แบ่งรับยาเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเปิดเผย (เพื่อนช่วยเพื่อน) 2) กลุ่มไม่เปิดเผย (แสงอรุณ) ซึ่งเดิมเภสัชกร
ประจำคลินิกให้บริการ one stop clinic เพื่อนช่วยเพื่อน และได้พบปัญหาด้านยาในการให้บริการ คือ
ผู้ป่วยมาไม่ตรงนัด ขาดยา รับประทานยาไม่ครบ ไม่ตรงเวลา เกิดอาการข้างเคียงจากยา เช่น TDF Induce
nephrotoxicity, ได้รับยาที่มีปฏิกิริยาต่อกัน, ผู้ป่วยที่กินยาแต่ไม่สามารถกดไวรัสได้ (virologic failure) จากปัญหา
ที่พบดังกล่าว เภสัชกรผู้รับผิดชอบคลินิก จึงพัฒนากระบวนการติดตามดูแลเพื่อเฝ้าระวังป้องกัน แก้ปัญหา
ความไม่เหมาะสมด้านยาของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดอาการข้างเคียงของยาและการดื้อยา
กิจกรรมการพัฒนา : 1) ให้คำปรึกษารายกลุ่มที่ห้องเบอร์ 9 ก่อนผู้ป่วยพบแพทย์ ในหัวข้อ ต้องกินยาให้ครบตรงเวลา
อย่างต่อเนื่อง, อาการข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น นับยา สอบถามการกินยา เตรียมข้อมูลค่า Lab viral load ล่าสุด
เพื่อประกอบการประเมิน Adherence ผู้ป่วย 2) ตรวจสอบใบสั่งยาก่อนจ่ายยาในประเด็น ยาที่ต้องปรับตามไต เช่น TDF,
ยาที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน เช่น simvastatin + Kaletra, สูตรยาที่อาจต้องปรับในกรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเพิ่ม
เช่น จาก GPO-Vir Z เป็นสูตรที่มี Tenofovir+Lamivudine จากนั้นจ่ายยา, สอบถามอาการข้างเคียงจากยา เน้นย้ำการกินยา
ให้ครบ สม่ำเสมอ หากเป็นการรับยาแทน เน้นให้ผู้รับยาแทนย้ำผู้ป่วยให้กินยาอย่างเคร่งครัด และ 3) เมื่อสิ้นสุด one stop
clinic ส่งรายชื่อผู้ขาดนัดให้ HIV co, แกนนำเพื่อนช่วยเพื่อนติดตามผู้ป่วยมารับยา
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : 1) ผู้ป่วยที่สามารถกดไวรัสในเลือด (Undetectable = VL ‹ 20
copy/ml.) = ร้อยละ 94.32 (83/88) (Goal = 92) 2) ผู้ป่วยไม่มาวันนัด แต่มารับยาต่อเนื่องโดยไม่ขาดยา
ร้อยละ 91.67 (22/24) (Goal = 90) และ 3) ผู้ป่วยที่พบปัญหาด้านยา ได้รับการดูแลตามแนวทางการรักษา
มาตรฐานร้อยละ 100 (Goal = 100)
บทเรียนที่ได้รับ : การตรวจสอบ Adhereance ต้องใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ 1) การนับยา 2) สอบถามผู้ป่วย
3) Lab viral load ล่าสุด และเข้าถึงปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคนให้ได้ เช่น ผู้ป่วยจิตเวช, ผู้พิการ ต้องมีคนดูแล,
ทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งต้องมีการสื่อสาร วางแผนแก้ปัญหาผู้ป่วยร่วมกัน การใช้เทคโนโลยีช่วย เช่น ใส่ข้อมูลยา
ที่มีปฏิกิริยาระหว่างกัน (Drug-drug interaction) ในโปรแกรม HosXp หรือ pop-note Plan
คำสำคัญ : viral load suppress management ADR ARV