Page 129 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 129

125


               05-10  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : เพิ่มความปลอดภัยด้านยา พัฒนา Medication reconciliation
               ผู้นำเสนอ : อัญชนา คำพิลา

               E-mail : unchana_kum@hotmail.com            เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4461 5002 ต่อ 3610
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : -                     ID line : unchana16
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

               ความเป็นมาและความสำคัญ : เดือนตุลาคม 2559 - มิถุนายน 2560 โรงพยาบาลบุรีรัมย์ได้เริ่มนำร่องกระบวนการ
               Medication reconciliation (MR) บนหอผู้ป่วยในรูปแบบทีมสหสาขาวิชาชีพใน 10 หอผู้ป่วยจากทั้งหมด
               30 หอผู้ป่วย ซึ่งพบว่า สามารถป้องกันและลดอุบัติการณ์การเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาได้ทั้งหมด 197 เหตุการณ์
               อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาว่ากระบวนการ MR ในรูปแบบของทีมสหสาขาวิชาชีพที่ทำ ยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
               ขาดความเชื่อมโยงของข้อมูล เกิดความยุ่งยากและทำงานซ้ำซ้อน ส่งผลให้ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรน้อย

               และยังได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่จากผลของกระบวนการ นอกจากนี้ในส่วนของหอผู้ป่วยอื่น ๆ
               ก็ยังไม่ได้ขยายกระบวนการ MR นี้กับผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษา จึงนำมาสู่การปรับปรุงระบบงาน MR
               เพื่อให้ทีมสหสาขาวิชาชีพทำงานร่วมกันได้อย่างระบบ ลดความซับซ้อน และเกิดประโยชน์กับผู้ป่วยสูงสุด
               กิจกรรมการพัฒนา : 1) กำหนดแนวทางปฏิบัติงาน MR และบทบาทของแต่ละวิชาชีพในทีมให้ชัดเจน 2) ปรับปรุง
               ขั้นตอนการพิมพ์ใบ MR ให้สะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงาน 3) ปรับปรุงแบบฟอร์ม MR ที่ใช้ร่วมกันได้ทั้งทีม โดยใบแบบฟอร์ม
               สามารถดึงประวัติออกจากโปรแกรมยา และใช้เป็น Doctor order sheet ได้ 4) จัดกิจกรรมปรับเน้นกลุ่มผู้ป่วย
               เบาหวาน และ warfarin 5) จัดกิจกรรมตราประทับ MR เพิ่มความร่วมมือในทีมสหสาขาวิชาชีพ และ 6) ประเมิน
               และแจ้งผลในการประชุมแต่ละองค์กรวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ประเมินผลผู้ป่วยใน admit ใหม่ ในกลุ่มที่มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน
               ผู้ที่มีประวัติได้รับยา warfarin โดยเลือกสุ่มเวชระเบียนมาประเมินร้อยละ 10 จากผู้ป่วยที่คัดเลือกมา พบว่า
               ทำให้มีการขยายงาน MR ไปในผู้ป่วยในรับใหม่ทุกหอผู้ป่วย และใช้เครื่องมือแบบฟอร์มร่วมกันในรูปแบบทีมทั้งหมด
               ทำให้มีผู้ป่วยได้รับ MR มากขึ้น จากปี 2561 คิดเป็นร้อยละ 19.5 เป็นร้อยละ 48.2 ในปี 2562 และพบว่า
               สามารถป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาลดลง จากปี 2561 คิดเป็น 327 เหตุการณ์ เป็น 151 เหตุการณ์
               ในปี 2562
               บทเรียนที่ได้รับ : 1) เพิ่มความร่วมมือในแต่ละองค์กรวิชาชีพและกลุ่มงานย่อย โดยแสดงผลดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
               เพื่อให้ทีมรับทราบ และปรับแนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน โดยเน้นความสำคัญของการป้องกันและลดอุบัติการณ์

               การเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาจากกระบวนการ MR 2) สนับสนุนเครื่องมือและปรับขั้นตอนการพิมพ์ใบ MR
               ที่สะดวกและใช้งานง่ายมากขึ้น เพื่อเพิ่มความร่วมมือของทีม เช่น ปรับการเข้าโปรแกรมยาให้เลือกประวัติ
               และสั่งพิมพ์ใบ MR ได้ มีเครื่องพิมพ์เอกสารเพิ่มเติมหน้าห้องตรวจ และ 3) ปรับใบ Doctor order sheet แรกรับ

               ผู้ป่วยใน เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสาร MR เพื่อส่งต่อ ระหว่างจุดบริการ
               คำสำคัญ : Medication reconciliation
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134