Page 125 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 125

121


               05-06  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : ผลการคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโนนสูง
               เจ้าของผลงาน :  พัทธนันท์ ปักโคสัง

               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 1876 2724
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ :   ความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยาเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของโรงพยาบาล
               ในการประกันคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยให้มีความปลอดภัยจากการใช้ยา เภสัชกรเป็นผู้มีหน้าที่
               ในการคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาให้มีความถูกต้องและเหมาะสมก่อนจะถึงตัวผู้ป่วย จึงต้องพัฒนาระบบ
               ให้มีประสิทธิภาพ
               วัตถุประสงค์ : เพื่อค้นหา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาก่อนถึงตัวผู้ป่วย
               กรอบแนวคิดการวิจัย : ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาที่ดักพบได้ก่อนถึงตัวผู้ป่วย

               ขึ้นกับความรู้ ความสามารถของแพทย์และเภสัชกรแต่ละคน และระบบที่จะช่วยเอื้อต่อการปฏิบัติงานที่สะดวกและ
               ง่ายต่อการใช้งาน
               กิจกรรมการพัฒนา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอก ช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2559
               ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 เน้นพัฒนาความรู้และทักษะของเภสัชกร ควบคู่กับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
               และใช้ Medication Trigger Tools มาช่วยในการค้นหาและป้องกันความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ปี2560-2562 เภสัชกรดักจับความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาได้
               1,431 ครั้งจาก 298,563 ใบสั่งยา (4.79 ครั้งต่อพันใบสั่งยา) ผลจากการพัฒนาระบบแต่ละปี เภสัชกร
               ดักพบอัตราความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาได้เพิ่มมากขึ้นจาก 2.45, 3.66, และ 8.40 ครั้งต่อพันใบสั่งยา ตามลำดับ

               ประเภทความคลาดเคลื่อน 3 ลำดับแรกคือ 1) สั่งยาผิดจำนวน 578 ครั้ง (1.94 ครั้งต่อพันใบสั่งยา)
               2) สั่งยาขนาดที่มากหรือน้อยเกินไป 280 ครั้ง (0.95 ครั้งต่อพันใบสั่งยา) และเลือกใช้ยาที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะ
               ของผู้ป่วย 272 ครั้ง (0.91 ครั้งต่อพันใบสั่งยา) ความคลาดเคลื่อนที่มีความสำคัญมาก ถ้าผิดพลาดไปถึงตัวผู้ป่วยอาจ
               เกิดผลกระทบที่รุนแรงได้ ได้แก่ 1) สั่งใช้ยาในกลุ่มที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ 98 ครั้ง 2) สั่งยาผิดชนิดไม่ตรงกับโรค
               หรืออาการผู้ป่วย 54 ครั้ง 3) สั่งใช้ยาที่เป็นข้อห้ามใช้ 16 ครั้ง และ 4) สั่งยาให้ผู้ป่วยผิดคน 2 ครั้ง
               จากความคลาดเคลื่อนทั้งหมด 1,431 ครั้ง เภสัชกรสามารถดักพบได้ก่อนถึงตัวผู้ป่วยร้อยละ 99.79 (ระดับรุนแรง B)
               แต่จากข้อจำกัดของบุคคล และภาระงานช่วงเร่งรีบ เภสัชกรได้จ่ายยาผิดพลาดไปถึงตัวผู้ป่วย ระดับรุนแรง C 2 ครั้ง
               รุนแรง D 1 ครั้ง และรุนแรง E 1 ครั้ง ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นแต่ละช่วงเวลาอาจเกิดจากปัจจัยของแพทย์
               รายบุคคล เนื่องจากมีแพทย์ใช้ทุนหมุนเวียนทุกปี ปัจจัยความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพ

               โรงพยาบาลร่วมกัน
               บทเรียนที่ได้รับ : จากผลการพัฒนาระบบคัดกรองวิเคราะห์คำสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอก เภสัชกรช่วยป้องกันและแก้ไข
               ความคลาดเคลื่อนก่อนถึงตัวผู้ป่วยได้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยจากการใช้ยามากขึ้น
               คำสำคัญ : วิเคราะห์คำสั่งใช้ยา
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130