Page 120 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 120

116


               05-01  Poster Presentation


               ชื่อเรื่อง : ลดความซ้ำซ้อน ลดมูลค่า ของระบบสำรองยาในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์
               ผู้นำเสนอ : กมลรัตนน์ วิจารณ์ไพบูลย์        ตำแหน่ง : เภสัชกร
               E-mail : .kamonratvi805@gmail.com           เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4455 1295 ต่อ 4007
               หน่วยงาน : งานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยใน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์

               ความเป็นมาและความสำคัญ : ระบบการสำรองยามีประโยชน์ในด้านของความเพียงพอ พร้อมใช้ในกรณีภาวะ
               ฉุกเฉิน เดิมการสำรองยานั้นได้กำหนดรายการยา Floor stock รวมทั้งจัดทำ box ชนิดต่าง ๆ กระจาย
               อยู่ทุกหอผู้ป่วย ได้แก่  CPR box (ผู้ใหญ่), CPR box (เด็ก), Emergency box,  PIH box  แต่ละ box บรรจุยา

               หลายรายการ  ยาบางชนิดบรรจุในหลาย box ทำให้ผู้ปฏิบัติสับสนหยิบยาไม่ถูกตามข้อบ่งใช้  นอกจากนั้นยังกำหนด
               ให้เปิดใช้ 1 box ต่อผู้ป่วย 1 รายแล้วนำกล่องไปแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดภาระงานของห้องยาและหอผู้ป่วย ยาบางชนิด
               ใน box มีอัตราการใช้น้อย ทำให้หมดอายุ ส่งผลให้สูญเสียมูลค่ายาโดยไม่จำเป็น
               เป้าหมาย :  เพื่อบริหารจัดการระบบสำรองยาในหอผู้ป่วย ให้มีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน ลดมูลค่ายาหมดอายุ
               กิจกรรมการพัฒนา : คณะอนุกรรมยาสำรองตึกและส่งเสริมความปลอดภัยด้านยาทบทวนและปรับปรุงใหม่โดย
               1) ลดจำนวน box ให้มีความเหมาะสม  2) ยกเลิกการสำรองยา Emergency box ไม่ตรงกับบริบทของงาน เช่น LR,

               OR  3) กำหนดรายการและปริมาณการใช้ยา floor stock และ  Emergency box ให้เหมาะสมในแต่ละ PCT
               4) เปลี่ยนการใช้ emergency box เดิมใช้ 1 กล่องต่อผู้ป่วย 1 ราย แล้วแลก box ทันที ปรับเป็นใช้ 1 กล่องต่อผู้ป่วย
               ทั้งหมดในหอผู้ป่วย แล้วจึงแลก box พร้อมแนบ copy order ในเวลา 14.00 น. และ 22.00 น.
               บทเรียนที่ได้รับ : ระบบการจัดทำกล่องยาชนิดต่าง ๆ อาจช่วยในเรื่องของความเพียงพอพร้อมใช้และสะดวก

               ต่อการใช้งาน แต่หากรายการยาบางรายการซ้ำซ้อน ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติหยิบยาไม่ถูกตามข้อบ่งใช้
                    -  การปรับเปลี่ยนรายการยาสำรองให้เหมาะสมกับบริบทตามแต่ละ PCT อาจช่วยป้องกันความคลาดเคลื่อน
                       ด้านการบริหารยาที่เกิดขึ้น ลดจำนวนยาหมดอายุและมูลค่าต้นทุนค่ายาได้
                    -  พัฒนาระบบการบริหารยา กรณีที่หยิบใช้ยาในกล่อง หรือยาสำรอง อาจมีระบบการคีย์ยาในหอผู้ป่วย
                       แบบ real time เพื่อช่วยในการระบุชื่อผู้ป่วย รายการยาที่ได้รับ รวมทั้งวิธีบริหารยาที่ชัดเจน
                    -  จัดหากล่องจัดเก็บยา Emergency, PIH ที่เหมาะสม เนื่องจากที่ใช้ปัจจุบันกล่องที่ใช้ไม่ได้แบ่งกั้น
                       เป็นช่องเก็บยาแยกแต่ละรายการ
               คำสำคัญ : ระบบสำรองยา, ลดความซ้ำซ้อน, ลดมูลค่า
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125