Page 110 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 110
106
04-13 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การลดอัตราการเกิดแผลฝีเย็บแยกในมารดาหลังคลอด อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
ผู้นำเสนอ : อัญชลี งามขำ ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
E-mail : wangmukklang@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4465 0317 ต่อ 2503 หรือ 2504
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 7878 8789 ID line : Anchalee_151@hotmail.com
หน่วยงาน : โรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
ความเป็นมาและความสำคัญ : แผลฝีเย็บแยกเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลเสียทั้งกับตัวผู้ป่วย ครอบครัว และ
โรงพยาบาล เป็นปัญหาที่กระทบต่อภาวะร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยโดยตรง ที่ต้องได้รับการ Re-suture นอกจากนี้
ยังอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บตามมาได้ จากการดำเนินงาน ในปี 2558 -2561 พบอัตราการเกิดแผลฝีเย็บ
แยก มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ (8.64%, 9.21%, 20.69%, 10.45 ตามลำดับ) และในปี 2561 พบอัตราการเกิดแผลฝี
เย็บแยก Re-suture ทุกราย จากการทบทวนพบว่า มารดาที่มีแผลฝีเย็บแยกได้รับการเย็บแผลฝีเย็บโดยวิธี
Continuous suture ทุกราย ประกอบกับการปฏิบัติตัวหลังคลอดที่บ้านไม่ถูกต้อง เช่น การอาบน้ำอุ่น เป็นต้น
กิจกรรมการพัฒนา : 1) พยาบาลห้องคลอด ทำคลอดและเย็บแผลฝีเย็บโดยใช้วิธีการเย็บแผลแบบ Interrupted
suture ทุกราย 2) ให้คำแนะนำเรื่องการดูแลแผลและการส่งเสริมการหายของแผล, ประเมินแผลฝีเย็บมารดาหลัง
คลอดก่อนจำหน่ายทุกราย 3) ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอด โดยในรายที่มีปัญหาหลังคลอดและได้รับยา ATB มีการ
ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอดนับจากวันที่ D/C 3 วัน และนัดปกติติดตามเยี่ยมเมื่อครบ 10 วัน ในรายปกติ นัด
ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอด 10 วัน (ห้ามน้อยกว่า 10 วัน) เพื่อประเมินการหายของแผล 4) ส่งต่อข้อมูลหลังคลอด
ให้กับ รพ.สต. เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านต่อไป
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
ปีงบประมาณ
ตัวชี้วัด เป้าหมาย
2560 2561 2562
≤ 5%
อัตราการเกิดแผลฝีเย็บแยก
20.69% (12/58) 10.45% (7/67) 8.16% (4/49)
อัตราการเกิดแผลฝีเย็บแยก Re-suture 0%
58.33% (7/12) 100% (7/7) 50% (2/4)
อัตราการเกิดแผลฝีเย็บติดเชื้อ 0% 0 0 0
จากข้อมูล ในปี พ.ศ. 2562 มีผู้คลอดเกิดแผลฝีเย็บแยก จำนวน 4 ราย คิดเป็น 8.16% และได้รับการ
Re-suture จำนวน 2 ราย คิดเป็น 50% ซึ่งมีแนวโน้มลดลง
บทเรียนที่ได้รับ : การทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่เกิดแผลฝีเย็บแยก ทำให้ทราบสาเหตุและสามารถแก้ไขปัญหา
ได้ตรงจุด การพัฒนาศักยภาพทางการพยาบาลงานห้องคลอดส่งผลให้ลดการเกิดแผลฝีเย็บแยกได้ และองค์กร
สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษา
คำสำคัญ : แผลฝีเย็บแยก