Page 106 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 106
102
04-09 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : หยดแรกเพื่อลูกรัก (Colostrum Love and Breast milk)
ผู้นำเสนอ : สุนันทา ทัศนสนวิจารณ์
E-mail : sunantha121@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : -
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 0472 4878 ID line : aom_sunantha
หน่วยงาน : คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : จากสถิติผู้คลอดโรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา ระหว่างปี 2559 ถึง 2561 จำนวน
869, 951 และ 1,111 ราย มารดาหลังคลอดที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจำนวน 424, 378 และ 320 ราย
โดยคิดเป็นร้อยละ 49, 40 และ 38 แต่มีจำนวนมารดาเพียง 131, 165 และ 122 รายที่ให้นมแม่อย่างเดียวก่อนกลับ
บ้านได้สำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 31, 44 และ 38 ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวนาน 6 เดือนคิด
เป็นร้อยละ 45, 46 และ 48 พยาบาลคลินิกนมแม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้นมแม่ได้เร็วที่สุดโดยใช้แนวคิด
การสร้างความเชื่อมั่นต้องเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเองของมารดาหลังคลอด
วัตถุประสงค์ : มารดาหลังคลอดสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้สำเร็จก่อนจำหน่าย และสามารถให้นมแม่
เพียงอย่างเดียวต่อเนื่องนาน 6 เดือน มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50
กิจกรรมการพัฒนา : จัดเตรียมเอกสารคำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการบีบน้ำนมด้วยมือ จัดอบรม ประเมินความรู้ การ
ให้คำแนะนำมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเก็บสะสมน้ำนม ฝึกบีบน้ำนมด้วยมือ และการเก็บน้ำนมด้วยไซ
ริงค์ ให้คำแนะนำมารดาในการใช้นมแม่ที่เก็บด้วยไซริงค์เสริมให้ทารกแทนนมผสม ประเมินการดูดกระตุ้นของทารก
ปริมาณน้ำนมของมารดา ประเมินการฝึกปฏิบัติของมารดาในการเสริมนมด้วยไซริงค์ ติดตามมารดาหลังคลอดทาง
โทรศัพท์ที่สามารเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่าย หลังคลอด 1 เดือน และ 6 เดือน
ผลการพัฒนา : ตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.ย. 2562 มารดาหลังคลอดได้รับคำแนะนำประโยชน์ของน้ำนมแม่ เทคนิคการ
การบีบน้ำนมด้วยมือ และมารดาหลังคลอดปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บน้ำนมและป้อนนมได้ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 98
มารดาหลังคลอดก่อนจำหน่ายเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวคิดเป็นร้อยละ 42 มารดาหลังคลอด 1 เดือนเลี้ยงลูก
ด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวคิดเป็นร้อยละ 67 มารดาหลังคลอด 6 เดือนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวคิดเป็นร้อย
ละ 60
บทเรียนที่ได้รับ : การให้ความรู้และการช่วยเหลือมารดาหลังคลอดในช่วงแรก เป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการกระตุ้นเต้า
นมเพื่อการสร้างน้ำนมในระยะยาว มารดาหลังคลอดเมื่อรับรู้ว่าเริ่มมีน้ำนมจะมีความพยายามสูงสุดเพื่อให้ลูกได้รับนม
แม่ และจะส่งผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนได้ การช่วยเหลือมารดาให้ประสบ
ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น นอกจากจะทำให้เกิดประโยชน์กับมารดาหลังคลอดแล้วยังสร้างความ
ภาคภูมิใจในวิชาชีพพยาบาล
คำสำคัญ : Colostrum, การบีบน้ำนม