Page 101 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 101
97
04-04 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลหนองบัวระเหว
ผู้นำเสนอ : รินนภาภรณ์ คิดบรรจง และคณะ ตำแหน่ง : นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ
E-mail : rinnapapron@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4489 7022
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 5768 6660 ID line : -
หน่วยงาน : โรงพยาบาลหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ
ความเป็นมาและความสำคัญ : โรงพยาบาลหนองบัวระเหว มีจำนวนผู้ป่วยโรควัณโรคที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเพื่อเข้า
มารับการรักษาในโรงพยาบาล ปี 2559 – 2562 = 50, 52, 60 และ 70 ตามลำดับ จำนวนส่งต่อด้วยภาวะดื้อยา ปี
2559 – 2561 = 3, 4 และ 3 ราย ปี 2562 พบแนวโน้มผู้ป่วยรักษาสำเร็จลดลงในปี 2560 จากผู้ป่วยเสียชีวิตและ
ขาดการรักษา ผลการวิเคราะห์สาเหตุการเสียชีวิตปี 2560 - 2561 พบในผู้สูงอายุและมีโรคร่วม และขาดการรักษา
ส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้ป่วยกินเหล้าและปฏิเสธการกินยา
เป้าหมาย : 1) เพื่อให้การดูแลรักษาสำเร็จ 2) เพื่อลดอัตราการตาย 3) เพื่อลดอัตราการขาดยา
กิจกรรมการพัฒนา :
1. ปรับกระบวนการให้ความรู้และเสริมพลังในการดูแลผู้ป่วยจากเดิม โดยเพิ่มการให้ความรู้ในรายใหม่ และ
ประเมินความรู้และการปฏิบัติตัวซ้ำเมื่อติดตามเยี่ยมบ้าน สร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว/ ชุมชนในการ
ดูแลและกำกับการกินยา โดยการทำ Family meeting การทำประชาคมหมู่บ้าน รวมทั้งมอบหมาย Care
giver ติดตามและกำกับการกินยาร่วมกับญาติ
2. มีการติดตามเยี่ยมบ้านถี่ขึ้น ในระยะเข้มข้นทุกสัปดาห์ และหลังจากนั้นทุก 1 เดือน โดยทีมสหวิชาชีพใน
โรงพยาบาลเจ้าหน้าที่.รพสต. และผู้ดูแลในชุมชน
3. ในกลุ่มที่พบผลข้างเคียงจากยา ทำให้ผู้ป่วยปฏิเสธกินยาและเสียชีวิต มีการปรับสูตรและแผนการรักษาให้
เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย และมีการติดตามผลข้างเคียงภาวะ Hepatitis โดยเจาะ Lab LFT ก่อนให้ยา
รักษาวัณโรค และติดตามผลเลือดหลังได้รับยา 2 สัปดาห์ และทุกครั้งที่ผู้ป่วยมารับยา
4. เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโดยการเลือกใช้ยาที่เหมาะสม มีการส่งตรวจ Sputum C/S Molecular for
TB ในผู้ป่วยที่วินิจฉัยวัณโรคปอดทุกรายที่มีเสมหะ Positive เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับเชื้อ
5. ในผู้ป่วยที่สงสัยวัณโรคปอดแต่ผลเสมหะยังไม่พบเชื้อ เพิ่มการส่งตรวจ Gene expert เพื่อการวินิจฉัยและ
รักษาได้รวดเร็วและเหมาะสม
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
ข้อมูล/ ตัวชี้วัด เป้าหมาย 2559 2560 2561 2562
1.ร้อยละของการรักษาสำเร็จ >92% 83.72 79.49 88.24 90.9
2.ร้อยละของการรักษาล้มเหลว <3% 0 2.56 0 0
3.ร้อยละของการตาย <5% 3/ 6.98 4 ราย/ 10.26 4 ราย/ 7.82 3 ราย/ 5.45
4.ร้อยละของการขาดยา 0% 4 ราย/ 9.30 3 ราย/ 7.69 1/ 1.96 2/3.64
บทเรียนที่ได้รับ : ในผู้ป่วย TB ที่ดื่มแอลกอฮอล์ ต้องมีการบูรณาการการดูแลในมิติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การรักษา
ภาวะติดเหล้า การใช้มาตรการทางสังคม
คำสำคัญ : วัณโรค, TB