Page 105 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 105

101


               04-08  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : พัฒนาการคัดกรองและเข้าถึงการรักษาวัณโรคอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
               ผู้นำเสนอ : อรอนงค์ จันทะบุรี

               E-mail : moonoot_9@hotmail.com      เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4465 0317 ต่อ 1116
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 4012 6376      ID line : -
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์

               ความเป็นมาและความสำคัญ : ปี 2561 พบอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคที่มีโรคเรื้อรังร่วม 6.5% และพบว่า
               ผู้ป่วยโรคร่วมมีแนวโน้มสูงขึ้น คิดเป็น 36% จากการทบทวนร่วมกับทีม PCT พบว่า สาเหตุคือ 1) คัดกรองกลุ่มเสี่ยง
               และมีโรคร่วมล่าช้าทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแรกซ้อนระหว่างรักษา 2) ระบบการส่งตรวจ Gene x-pert ไม่ชัดเจน ในกลุ่ม
               ที่มีผล AFB ปกติแต่ผล CXR ผิดปกติ 3) ขาดการติดตามค้นหาต่อเนื่องในพื้นที่และชุมชนเสี่ยง
               กิจกรรมการพัฒนา :

                    1.  ปรับ CPG การคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงชัดเจนในทุกกลุ่มและให้ความรู้ด้านวิชาการให้บุคลลากร และส่ง
                        ต่อการรักษาต่อเนื่องในคลินิกวัณโรคและขึ้นทะเบียนเพื่อติดตามในระบบนัด Hos-xp และ Pop up
                        ติดตามทุก 1 ปี
                    2.  จัดทำ “DOT Mapping” เพื่อเป็นเครื่องมือค้นหาพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดและวางแนวร่วมกับ

                        ทีมลงพื้นที่ประชาคมหมู่บ้านในพื้นที่และชุมชนเสี่ยง พร้อมทั้งติดตามต่อเนื่อง
                    3.  ร่วมกับทีมระดับจังหวัดเรื่องการปรับการส่งตรวจ Sputum  Gene x-pert ที่เป็นตารางการส่งตรวจ
                        ชัดเจน เพื่อให้สามารถคัดกรองและส่งตรวจได้ครอบคลุม


               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :




















               บทเรียนที่ได้รับ : พัฒนาการคัดกรองวัณโรคเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง โดยมีความร่วมมือในภาพจังหวัดและทีมดูแลต่อเนื่อง

               จนถึงชุมชนเพื่อให้การค้นหาผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้รวดเร็ว ลดภาพแทรกซ้อน การแพร่กระจายเชื้อในชุมชน
               และลดอัตราการเสียชีวิต
               คำสำคัญ : ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง, กลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน, ผู้สัมผัสใกล้ชิด, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, บุคลากรสาธารณสุข, ผู้สูงอายุ
               65 ปี, มีโรคร่วม COPD, ผู้ป่วยเบาหวาน (HBA1C >7), กลุ่มผู้ป่วยต่างด้าว, ผู้ป่วย HIV
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110