Page 103 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 103
99
04-06 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก
ผู้นำเสนอ : จุรีพร ขึงกระโทก ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
E-mail : mam-1802@hotmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : -
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 5466 5377 ID line : -
หน่วยงาน : โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : ตั้งแต่ ปี 2557 – 2561 อำเภอโชคชัยพบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 16, 353, 120, 107
และ 255 ราย ตามลำดับ อัตราป่วยตาย 0, 2, 0, 1 และ 0 รายตามลำดับ งานผู้ป่วยนอกพบปัญหาส่งสอบสวนโรคล่าช้า
ปี 2558 - 2561 จำนวน 3, 2, 0 และ 1 ตามลำดับ พบผู้ป่วยเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ถูกจำหน่ายกลับบ้าน 2 ราย ปี
2561 ผู้ป่วยไม่ได้รับการนัดติดตามและไม่ได้รับยากลับบ้าน 1 ราย แพทย์วินิจฉัยไม่ถูกต้อง 1 ราย จากปัญหาดังกล่าวจึง
ได้มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่จุดคัดแยก การซักประวัติคัดกรอง การรักษา จัดจุดสังเกตอาการขณะรอผลเลือด
การเฝ้าระวังและควบคุมโรคในชุมชน การจัดระบบการส่งสอบสวนโรคทั้งในและนอกเวลาราชการ การรักษาเป็นไปตาม
แนวทางการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก การเฝ้าระวัง การติดตาม และควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วในชุมชน เพื่อลดการสูญเสีย
ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
กิจกรรมการพัฒนา : ปี2561 1) ซักประวัติคัดกรองตั้งแต่ ปชส.โดยเจ้าหน้าที่ Triage ถ้าเป็นผู้ป่วยนัดคลินิกไข้เลือดออก
ใส่สัญลักษณ์ตัวยุงในการสื่อสารระหว่างจุดบริการ 2) ซักประวัติเรื่องไข้ วันที่ เวลา.ไม่พบไข้เลือดออกในหมู่บ้านหรือพบ
ผู้ป่วยไข้เลือดออก ม.5 ต.ท่าเยี่ยม จะแนบข้อความ “เฝ้าระวังไข้เลือดออก” คู่กับบัตรเมื่อถือเข้าห้องตรวจ และส่งทำ T-
o
test เมื่อประเมินพบ BT ≥ 38 C หรือมีคนใกล้ชิด/ พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในหมู่บ้าน 3) การออกใบนัดออกเป็นคลินิก
ไข้เลือดออก/ ค้างสอบสวนโรค/ หรือส่งสอบสวนโรคแล้วเป็นไข้เลือดออกวันที่เท่าไร 4) ในเวลาราชการเมื่อวินิจฉัยว่าเป็น
ไข้เลือดออก แจกยาทากันยุง ใบความรู้ จะส่งสอบสวนโรคทันที กรณีมานอกเวลาจะพิมพ์บัตรคิวส่งงานควบคุมโรค
วันรุ่งขึ้น กำหนดผู้รับผิดชอบ 5) จัดมุม DHF Corner หน้าห้องตรวจ 1 สังเกตอาการ ให้คำแนะนำ 6) กรณีผู้ป่วยมาจาก
แหล่งระบาด แพทย์ไม่นัดดูอาการ พยาบาลสามารถนัดได้โดยไม่ระบุแพทย์เจ้าของไข้
ปี 2562 1) ประชุมทีมและทบทวน Case ที่พบปัญหาในการดูแลรักษา โดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล
งานควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง 2.) กรณีเมื่อแพทย์ส่งตรวจ CBC NS1Ag เมื่อผลเลือดออกหาก NS1Ag = Positive ให้ลง
ผลด้วยปากกาแดง หากค้างส่งสอบสวนโรคให้แนบบัตรค้างสอบสวนโรค/ บันทึกลงคอม Chief Complain 3) การออกใบ
นัดในกรณีแพทย์จำหน่ายผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยไข้เลือดออกที่มีผลเกล็ดเลือด ≤ 140,000 ให้ระบุเพื่อเฝ้าระวังลงในใบนัด
ร่วมทั้งประสานในตึกหากแพทย์จำหน่ายให้ระบุค่าเกล็ดเลือดก่อนจำหน่ายลงในใบนัด 4) การประเมินสัญญาณชีพ อาการ
และอาการแสดงก่อนจำหน่ายผู้ป่วยไข้เลือดออกกลับบ้าน พร้อมแนะนำอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง : ปี 2561 ผู้ป่วยไม่ได้รับการนัดติดตามและไม่ได้รับยากลับบ้าน 1 ราย ผู้ป่วย
ไข้เลือดออกส่งสอบสวนโรคล่าช้า 2 ราย ไม่ได้ส่งสอบสวนโรค 1 ราย ไม่พบการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีภาวะวิกฤต
ได้รับการดูแลล่าช้า/ ไม่ถูกต้อง/ เสียชีวิต ปี 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกส่งสอบสวนโรคล่าช้า 4 ราย ไม่พบการดูแลผู้ป่วย
ไข้เลือดออกที่มีภาวะวิกฤตได้รับการดูแลล่าช้า/ ไม่ถูกต้อง/ เสียชีวิต
บทเรียนที่ได้รับ : การดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกต้องมีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน การเฝ้าระวังควบคุมการ
ระบาดของโรคต้องรวดเร็วตั้งแต่ในโรงพยาบาลจนถึงชุมชน การประสานงานระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขและองค์กร
ส่วนท้องถิ่น ความร่วมมือจากประชาชนชุมชน ซึ่งการสอบสวนโรคอย่างรวดเร็ว ช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต
ค่าใช้จ่ายในการรักษาและการระบาดในชุมชนได้
คำสำคัญ : ผู้ป่วยไข้เลือดออก