Page 31 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 31
27
01-01 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลศรีณรงค์
ผู้นำเสนอ : อรอนงค์ ดอนเหลือม ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
E-mail : onanongple1990@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : -
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 3093 5652 ID line : -
หน่วยงาน : โรงพยาบาลศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์
ความเป็นมาและความสำคัญ : โรงพยาบาลศรีณรงค์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ในระยะเวลา 6 เดือนแรก ปี’62
(ต.ค.61 - มี.ค.62) มีผู้ป่วยโรคติดเชื้อนอน รพ. 37.8% (500/1322) เมื่อทบทวน 6 เดือนย้อนหลังในปี’61 (เม.ย.61 – ก.ย.
61) ในกลุ่มผู้ป่วยเสียชีวิตและส่งต่อพบว่า มีผู้ป่วย sepsis เสียชีวิต 40% (2/5) มีภาวะแทรกซ้อนเป็นเหตุให้ส่งต่อ 77.8%
(7/9) เมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุพบว่า เกิดจากการวินิจฉัยและการรักษาล่าช้า 67% (3-72 ชม.) การใช้ยาไม่เหมาะสม 33% การ
ใช้สารน้ำไม่เหมาะสม 33% ทำให้ sepsis เป็นความเสี่ยงอันดับ 1 ของโรงพยาบาล
กิจกรรมการพัฒนา : การเข้าถึงบริการ 1) เปลี่ยนจุดคัดกรองจาก triage ER เป็นจุด screening ด้านหน้ารพ. เพื่อคัดกรอง
ผู้ป่วย 100% 2) อบรมเจ้าหน้าที่คัดกรองในการประเมินผู้ป่วย การคัดกรองและประเมิน 1) ลดการขั้นตอนการประเมิน จาก
qSOFA และ SSS เป็น qSOFA อย่างเดียวเพื่อความรวดเร็วและง่าย 2) จัดทำแบบฟอร์มแนบ เพื่อระบุผู้ป่วยที่สงสัย sepsis
และส่งห้องตรวจเฉพาะตามเงื่อนไข การตรวจวินิจฉัย 1) เพิ่มการซักประวัติที่จำเป็นในการแยกโรคติดเชื้อพื้นถิ่น เช่น การเข้า
ป่า ลุยน้ำ 2) กำหนด Lab เบื้องต้นที่ต้องส่ง และ Lab อื่นที่เกี่ยวข้อง 3) กำหนดระยะเวลารายงานผล และพิมพ์ผลใน 45
นาที 4) ลดความสำคัญของการส่ง Lab นอก ซึ่งได้ผลช้าไม่ทันต่อการรักษาผู้ป่วย การดูแลรักษาและการส่งต่อ 1) เน้นการ
ดูแลโดยสหวิชาชีพ ทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย sepsis จากเดิมขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การรักษาล่าช้า 2)
ให้ยา ATB ใน 1 ชม. โดยปรับกระบวนทัศน์ใหม่เป็น “รักษาแบบ sepsis จนกว่าจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น” 3) นำ standing
order/ SSS มาใช้อย่างจริงจัง 4) ปฏิบัติตาม CPG รวมทั้งทบทวนสม่ำเสมอ 5) กำหนดแนวทางการส่งต่อที่รวดเร็ว ป้องกัน
ผู้ป่วยเสียชีวิต
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
CQI_1 CQI_2
ตัวชี้วัด เป้าหมาย ก่อน
(เม.ย.-มิ.ย.62) (ก.ค.-ก.ย.62)
1. อัตราการการเจาะส่งเพาะเชื้อ (H/C) ก่อนได้ยา ATB 100 % 53.33 66.67 83.33
2. อัตราการได้รับยา ATB ภายใน 1 ชั่วโมง 100 % 80 83.33 100
3. อัตราการได้รับสารน้ำทดแทนอย่างน้อย 30 Ml/kg. หรือ 1.5 80 % 46.67 50.00 66.67
L. ภายใน 1ชม.
4. อัตราผู้ป่วยได้รับการรักษาตาม CPG 100 % 46.67 50.00 83.33
5. อัตราการ Refer ผู้ป่วย sepsis ลดลงจากเดิม < 30 % 73.33 50.00 16.67
6. อัตราตาย ≤ 10 % 33.33 16.67 0
บทเรียนที่ได้รับ : จากการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis เพื่อป้องกันภาวะ Severe Sepsis นั้น ส่งผลให้ผู้มารับบริการ
ปลอดภัย เกิดภาวะแทรกซ้อนลดน้อยลง ลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยได้ แต่จากการพัฒนาที่ผ่าน พบว่า แม้จะมีแนวทาง
ปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ชัดเจน แต่ในการ Implement แนวทางปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่าเพราะบุคลากรยังมีความเข้าใจ
ในในแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น การ monitor ติดตามต่อเนื่องและมีการประเมินผลแนวทางปฏิบัติจึงเป็นสิ่งที่
จำเป็น เพื่อให้บุคลากรเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ง่ายเหมือนงานประจำ เพื่อให้ผู้รับบริการปลอดภัย และลดอัตราการ
เสียชีวิตในผู้ป่วยได้
คำสำคัญ : SEPSIS, การติดเชื้อในกระแสเลือด