Page 35 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 35
31
01-05 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : ผลการพัฒนาระบบงานการดูแลผู้ป่วย Sepsis โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี
ผู้นำเสนอ : มานิตย์ จอดนอก ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
E-mail : manit_nurse@hotmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4432 9234 ต่อ 120
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 8583 7609 ID line : -
หน่วยงาน : โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นภาวะวิกฤติที่มีความสำคัญเพราะมีอัตราการเสียชีวิตสูง ซึ่ง
เป็นผลจากการติดเชื้อและกระบวนการการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกายอย่างรุนแรงอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดภาวะช็อค นำไปสู่
ภาวะที่มีอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ และเสียชีวิตในที่สุด ปัจจุบันพบว่าภาวะติดเชื้อเป็นสาเหตุหลักของภาวะทุพลภาพ และ
การเสียชีวิตของผู้ป่วยทั่วโลก (World Health Organization [WHO], 2015) ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องรักษาในโรงพยาบาลเป็น
เวลานาน สิ้นเปลืองทรัพยากร มีค่าใช้จ่ายสูงและส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล
โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ระดับทุติยภูมิ ในปี 2560 มีผู้ป่วย
Sepsis 124 ราย เสียชีวิต 1 ราย ส่วนในปี 2561 มีผู้ป่วย Sepsis 85 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มี
โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น และจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยตามรอยกระบวนการดูแลรักษาตาม
Time line ยังพบอุบัติการณ์ Delayed diagnosis, Delayed Treatment, Loss assessment ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ป่วยยัง
เข้าถึงหน่วยรับบริการล่าช้า ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะติดเชื้อ ทีมผู้ดูแลยังขาดความรู้ความ
ชำนาญในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นทีม PCT โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี จึงได้พัฒนาระบบงานการดูแลผู้ป่วย
Sepsis ขึ้น โดยมุ่งหวังให้การดูแลผู้ป่วย Sepsis มีคุณภาพ และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด
กิจกรรมการพัฒนา : ระยะที่ 1 (1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561) ประชุมทีมคณะกรรมการการดูแลผู้ป่วย Sepsis
ร่วมกันทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย Sepsis ,วิเคราะห์ระบบบริการผู้ป่วย ข้อมูลผลการดำเนินงาน และตัวชี้วัดการดูแลผู้ป่วย
Sepsis นำเครื่องมือ SIRS และ SOS score มาใช้ในการ assessment to detected ผู้ป่วยที่มีภาวะ Sepsis อบรมให้ความรู้
กับทีมผู้ดูแลเกี่ยวกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ติดตามประเมินผลการใช้ SIRS และ SOS score โดยการทบทวน
วิเคราะห์เวชระเบียนผู้ป่วยตามรอยกระบวนการดูแลรักษาตาม time line ระยะที่ 2 (1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน
2562) ประชุมคณะกรรมการการดูแลผู้ป่วย Sepsis ทบทวนและวิเคราะห์เวชระเบียนผู้ป่วยร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อ
แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาโดยรวม ทบทวนและปรับปรุงแนวทางทางการปฏิบัติตามแนว
ทางการดูแลผู้ป่วย Sepsis เพิ่มแบบฟอร์มการติดตามผู้ป่วย Sepsis ในแบบประเมิน SOS Score มีช่องทางด่วนรับยาและ
ช่องทาง Lab ด่วน สำหรับผู้ป่วย Sepsis ส่งเสริมการใช้แบบฟอร์มการติดตามผู้ป่วย Sepsis ในแบบประเมิน qSOFA score
และ SOS Score ตั้งแต่ รพ.สต. จุดคัดกรอง triage ที่โรงพยาบาล OPD, ER, IPD เพื่อเพิ่มศักยภาพทักษะบุคลากรในการเฝ้า
ระวังและดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดการดูแลผู้ป่วย Sepsis มีการ Feedback ข้อมูล
Sepsis ไปยังคณะกรรมการการดูแลผู้ป่วย Sepsis ผู้บริหาร และทบทวน Case ที่มีปัญหาเป็นรายกรณีเพื่อพัฒนาปรับปรุง
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : จากผลการใช้แนวทางปฏิบัติตามแนวทาง (CPG ) และการการใช้แบบแบบฟอร์ม
การติดตามผู้ป่วย Sepsis ติดตามผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ที่ปรับพัฒนาขึ้น เป็นระยะเวลา 12 เดือน เปรียบเทียบ
กับการใช้แนวปฏิบัติเดิมในผู้ป่วยปีก่อนหน้า พบว่า ความสำเร็จของการวินิจฉัยและการให้การรักษาผู้ป่วยตามแนวทางการ
ดูแลผู้ป่วย Sepsis ในเวลาที่เหมาะสมใน 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย Sepsis ทุกราย อัตราการ
ส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์เพิ่มขึ้นและไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
บทเรียนที่ได้รับ : จากการปฏิบัติตามแนวทางและเพิ่มแบบฟอร์มการติดตามผู้ป่วย Sepsis ในแบบประเมิน SOS Score ที่
ปรับพัฒนาขึ้นในผู้ป่วยที่วินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน มีความ
ง่ายต่อการนำไปใช้สำหรับบุคลากรที่มีประสบการณ์น้อยและทำให้เกิดความชำนาญของบุคลากรในทีมผู้ดูแล อีกทั้งก่อให้เกิด
การเรียนรู้ของทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งด้านความคิด ความเข้าใจ เพื่อการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพที่เป็นไปในทิศทาง
เดียวกันอีกด้วย
คำสำคัญ : ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, การดูแลผู้ป่วย Sepsis