Page 38 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 38

34


               01-08  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
               ผู้นำเสนอ : นุชนาฏ ธรรมดี    ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

               E-mail : nutchanat.som@hotmail.com  เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน :  0 4439 7111 ต่อ 102
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 1264 1165
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : จากสถิติผู้ป่วย Stroke ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลขามทะเลสอ พบว่ามีแนวโน้ม
               เพิ่มมากขึ้นทุกปี  ปี 2559 จำนวน 90 ราย ปี 2560 จำนวน 94 ราย ปี 2561 จำนวน 103 ราย จากการทบทวน
               พบว่าผู้ป่วย Stroke ส่วนใหญ่มารับบริการล่าช้าทำให้ไม่สามารถเข้าระบบ Stroke fast track ได้ อัตราผู้ป่วย Stroke
               มารับบริการทัน Golden Period ปี 2559 = 35.59% ปี 2560 = 43.59% ปี 2561 = 41.75% เนื่องจากผู้ป่วยไม่รู้
               ภาวะวิกฤติที่จะต้องมาโรงพยาบาล นอกจากนั้นยังพบว่า ยังมีการคัดกรองผู้ป่วย Stroke ผิดพลาด ปี 2559 = 1.22%

               ปี 2560 =1.06% ปี 2561 = 0% ทำให้เกิดการล่าช้าในการวินิจฉัยและรักษา และยังพบว่าผู้ป่วย Stroke fast track
               ได้รับการส่งต่อภายใน 30 นาที ปี 2560 = 48.28% ปี 2561 = 56.67% และผู้ป่วย Post stroke  ได้รับการฟื้นฟู
               ADL > 80% ปี 2559 = 75.86% ปี 2560 = 80% ปี 2561 = 89.74% ดังนั้นโรงพยาบาลจึงได้มีการพัฒนาระบบ
               การดูแลผู้ป่วย Stroke ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
               กิจกรรมการพัฒนา : พัฒนาระบบการเข้าถึงให้รวดเร็วโดยการให้ความรู้อาการที่ต้องรีบมา รพ. ให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรค
               เรื้อรัง ผู้ป่วยทั่วไป อสม ผุ้นำชุมชน/ระบบ EMS ทบทวนปรับปรุงการใช้แบบฟอร์มการคัดกรองผู้ป่วย Stroke โดย
               การใช้ Stroke Triage ประเมินคัดกรองอาการเบื้องต้น ปรับปรุงแนวทางการประเมิน การวินิจฉัยและให้การรักษา
               ผู้ป่วยและจัดทำ Clinical tracer Stroke พัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย Stroke โดยทบทวนทักษะ

               วิชาการการประเมินผู้ป่วย Stroke ทั้งระดับรพสต.และระดับโรงพยาบาล พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วย Stroke fast
               track ภายใน 30 นาที จัดทำป้าย Alert refer stroke /จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วย stroke fast track บนรถ EMS
               จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยขณะส่งต่อ /จัด Stroke Conner ใน IPD ประสานทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย
               Stroke และร่วมวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย มีระบบส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยไปยังรพสต. และติดตามเยี่ยมบ้านภายใน 1
               เดือน
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : จากผลการพัฒนาพบว่า ปี 2562 มีจำนวน ผู้ป่วย stroke = 126 ราย มา
               รับบริการทัน Golden Period = 51.61% การคัดกรองผู้ป่วย Stroke ผิดพลาด = 0% ผู้ป่วย Stroke Fastrack
               ได้รับการส่งต่อภายใน 30 นาที = 62.2% ผู้ป่วย Post stroke ได้รับการฟื้นฟู ADL > 80% = 100%
               บทเรียนที่ได้รับ : การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและระบบ EMS ไม่ควรเน้นเฉพาะในกลุ่มโรคเรื้อรังควร

               ครอบคลุมผู้ดูแล ประชาชนทั่วไป อสม ผู้นำชุมชน เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการเข้าถึง การดูแลผู้ป่วย stroke fast
               track ควรเริ่มตั้งแต่บนรถ EMS โดยทำการพยาบาลที่จำเป็น เช่น การให้สารน้ำ DTX การซักประวัติ การประสาน ER
               เพื่อเตรียมแพทย์ เวชระเบียน EKG และกระตุ้น จนท ที่เกี่ยวข้อง refer ภายใน 30 นาที การคัดกรองที่แม่นยำรวดเร็ว
               มีผลต่อการรักษาที่รวดเร็ว สิ่งที่คาดหวังจะทำต่อไปคือ การดูแลโดยทีมสหวิชาชีพและเชื่อมโยงข้อมูลสู่ รพสต จะทำ
               ให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ลดความพิการ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและการป้องกันการเกิด Recurrent stroke โดยการร่วมมือ
               ของสถานบริการทุกระดับ
               คำสำคัญ : Golden period, Stroke fast track
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43