Page 40 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 40

36


               01-10  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Stroke อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
               ผู้นำเสนอ : พรสุดา พนัสนอก

               E-mail : phonsuda7799@gmail.com     เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 5442 3669
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์

               ความเป็นมาและความสำคัญ : โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ หรืออุดตันเฉียบพลัน ส่งผลเสียทั้งต่อตัวผู้ป่วย
               ครอบครัวและโรงพยาบาล เป็นปัญหาที่กระทบต่อภาวะร่างกายและจิตใจผู้ป่วยโดยตรง ทำให้เกิดความพิการ ทุพพล
               ภาพอย่างถาวรหรือการเสียชีวิตได้ ต้องได้รับการเข้าถึงบริการ คัดกรอง ประเมินภาวะของโรคหลอดเลือดสมองได้
               อย่างแม่นยำครอบคลุมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ความพิการ อัตราการกลับเป็นซ้ำรวมถึงอัตราการเสียชีวิต ให้เหลือ
               น้อยที่สุด จากการดำเนินงานในปี 2558 - 2561 พบอัตราการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมารักษาภายใน 3 ชม. หลัง
               มีอาการ มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ (33.33%, 28.57%, 22.91%, 38.46% ตามลำดับ) และในปี 2561 พบอัตราการ

               เข้าถึงบริการล่าช้า จากการทบทวนพบว่าผู้ป่วยและญาติขาดความรู้เรื่องอาการโรคหลอดเลือดสมอง ไม่มีรถมา มี
               อาการช่วงนอนกลางคืน ผู้ป่วย NCD ขาดยา และการประเมินล่าช้า
               กิจกรรมการพัฒนา : การเข้าถึงบริการ - จัดทำสื่อในการประชาสัมพันธ์ ถึงอาการผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมอง
               ให้ผู้นำชุมชน เปิดประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ผู้ป่วยคลินิก NCD เรื่อง Stroke Alert โดยการออกแบบกิจกรรมสร้างการ
               เรียนรู้ถึงอาการผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องรีบมาพบแพทย์ เพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์การเข้าถึงบริการ
               ในระบบ EMS เพื่อเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว ให้ครอบคลุมเครือข่าย รพ.สต., อปท. เพิ่มการสื่อสารในกลุ่มโรค
               เรื้อรังให้เข้าใจกลุ่มอาการฉุกเฉินของหลอดเลือดสมองที่ต้องมาโรงพยาบาลด่วน และแนวทางการเรียกบริการ 1669
               ติดสติ๊กเกอร์เบอร์โทรรถ EMS 1669 ที่สมุดรับยาโดยเน้นคนที่ไม่มี care giver อยู่ด้วย และกลุ่มผู้สูงอายุไม่มีโทรศัพท์

               ให้ อสม.ประจำครัวเรือนรับผิดชอบและเบอร์โทรศัพท์สายด่วน ER 085-6601552 ในสมุดรับยาผู้ป่วยและถุงยา การ
               ประเมินผู้ป วย - พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการประเมินอาการ Stroke ให้คลอบคลุมทุกพื้นที่การให้บริการ ปรับเพิ่ม
               อัตรากำลังในการประเมินอาการผู้ป่วย Stroke ที่จุดคัดกรองใน/นอกเวลาราชการทุกวัน การดูแลผู้ป วยและการส่ง
               ต่อ - ปรับและทบทวน CPG ในการดูแลผู้ป่วย Stroke ร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่าย ที่ส่งต่อและปรับปรุง ใช้ตามบริบท
               ของโรงพยาบาล โดยเน้นผู้ปฏิบัติทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง พัฒนาทีม Stroke Fast Track ร่วมโรงพยาบาล
               แม่ข่าย เพื่อกำหนดแนวทางการดูแลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยจัดทีมสัมมนาวิชาการ Stroke แบบภาคีเครือข่าย
               สัญจรตามโซน มีระบบ Consult กลุ่ม Line Stroke Fast track ในเครือข่ายจังหวัดบุรีรัมย์ การดูแลต่อเนื่อง-
               ระบบสื่อสารในทีมสหวิชาชีพในเครือข่ายอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์  โดยมีการตั้งกลุ่มLine Stroke BMH ส่งต่อผู้ป่วยที่
               Refer back  เพิ่มระบบเพื่อนช่วยเพื่อนโดยให้มีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการขาดนัด เช่น stroke ไปพูดคุยให้

               คำปรึกษาผู้ป่วย
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : จากตารางข้อมูลในปี 2562 มีผู้ป่วย Stroke จำนวน 13 รายที่มาถึง
               โรงพยาบาลภายใน 3 ชั่วโมง คิดเป็น 33.33% ยังไม่ได้ตามเป้าหมายแต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและได้รับการส่งต่อภายใน
               30 นาทีจำนวน  7 ราย คิดเป็น 53.84% ได้ตามเป้าหมายแต่มีแนวโน้มลดลง
               บทเรียนที่ได้รับ : ผู้ป่วยกลุ่มฉุกเฉิน Stroke มาเร็ว ประเมิน การวินิจฉัยที่ถูกต้อง และส่งต่อที่รวดเร็วส่งผลให้ผู้ป่วยมี
               โอกาสรอดชีวิต และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทุกคนมีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วย stroke ทั้งผู้ป่วยและญาติด้วย รวมถึง
               ทีมสหวิชาชีพ
               คำสำคัญ : โรคหลอดเลือดสมอง
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45