Page 45 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 45

41


               01-15  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการการดูแลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (SK)
               ผู้นำเสนอ : กรกมล จันดี      ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
               E-mail : chandee552@gmail.com       เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4487 2377 ต่อ 2112, 1325
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 2252 7938    ID line : -
               หน่วยงาน : งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  โรงพยาบาลหนองบัวแดง  จังหวัดชัยภูมิ

               ความเป็นมาและความสำคัญ : โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูง
               ที่จะเสียชีวิตได้กะทันหัน โรงพยาบาลหนองบัวแดงเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด M2 ในการพัฒนาดูแลผู้ป่วย
               สาขาโรคหัวใจจะต้องมีศักยภาพในการให้ยาละลายลิ่มเลือด streptokinase ก่อนการส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งรพ.หนองบัวแดง
               ขาดแพทย์เฉพาะทางสาขาหัวใจ จึงจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยทั้งหมดและพบว่า พยาบาลยังขาดสมรรถนะด้านให้ยาละลาย
               ลิ่มเลือด เพราะเป็นยาตัวใหม่เริ่มใช้ใน รพ.ชุมชนได้ 2 ปี ที่ ER จากสถิติของโรงพยาบาลหนองบัวแดง ปี 2561 พบผู้ป่วย
               โรคหลอดเลือดหัวใจ 107 รายเป็น NSTEMI จำนวน 84 ราย STEMI จำนวน 23 ราย ได้ให้ยา SK ที่รพ. 15 ราย
               คิดเป็นร้อยละ 65.22  เสียชีวิตก่อน 1 ราย และขณะส่งต่อ 1 ราย ส่งต่อ 16 ราย  ส่งต่อรพ.ชัยภูมิ 12 ราย ส่ง รพ.มหาราช
               6 ราย และมีผู้ป่วยเสียชีวิตที่กะทันหันที่มาด้วย Cardiac arrest จำนวน 5 ราย คาดว่าน่าจะเกิดจากภาวะหัวใจขาดเลือด
               การรักษาผู้ป่วย STEMI โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อเปิดหลอดเลือดที่รวดเร็วภายใน 3 ชั่วโมง จะช่วยลดอัตราตาย
               ของผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยระยะทางในการส่งต่อไกลถ้าไปมหาราช 180 กม. รพ.ชัยภูมิ 50 กม. ทางขึ้นเขาลาดชัน การพัฒนา
               ศักยภาพของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้ละลายลิ่มเลือด
               streptokinase ก่อนการส่งต่อผู้ป่วย  จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
               กิจกรรมการพัฒนา :  1) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ยาละลายลิ่มเลือดแก่พยาบาลในโรงพยาบาล
                                2) ร่วมประชุมเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย STEMI ปีละ2ครั้ง
                                3) จัดอบรม ACLS สำหรับพยาบาล 100% ปีละครั้ง
                                4) จัดทำแนวปฏิบัติในการให้ยา SK แก่ผู้ป่วยก่อนส่งต่อของโรงพยาบาล
                                5) พัฒนาระบบส่งต่อให้มีประสิทธิภาพ
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : 1) มีการจัดอบรมการให้ยา SK สำหรับพยาบาลตึกอื่น และส่งต่อ 1 ครั้ง/เดือน
               เดือนเมษายน จำนวน 19 คน จาก 27 คน คิดเป็น ร้อยละ 60 ของพยาบาล  2) พยาบาลที่หอผู้ป่วยในสามารถให้ยาละลาย
               ลิ่มเลือดได้ พยาบาลส่งต่อที่ประจำตึกอื่น ๆ มีสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยที่ได้ยา SK ได้ไม่จำเพาะพยาบาลที่ห้องฉุกเฉินเท่านั้น
               3) มีแนวทางการบริหารยาทั้งในและนอกเวลาราชการจัดไว้ที่ห้องยา และ ER เตรียมยา Streptokinase ไว้ที่ห้องอุบัติเหตุ
               ของโรงพยาบาล 1 ชุด สำหรับใช้นอกเวลาราชที่ในเวลารับที่ห้องยา  4) มีแนวทางการตามพยาบาลมาช่วยดูแลผู้ป่วยที่ให้ SK
               ก่อนส่งต่อคือตามพยาบาลตัวจริงมาดูแลขณะให้ยา SK จนยาหมดก่อนส่งตัวผู้ป่วยประมาณ 1 ชม จากนั้นตามพยาบาล refer
               เพิ่มอีก 1 คนร่วมไป refer เป็น 2 คน  5) แนวทางปฏิบัติในการให้ยา SK แก่ผู้ป่วยก่อนส่งต่อของโรงพยาบาล ทำให้แพทย์
               พยาบาล และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย STEMI  สามารถใช้ CPG ในการตรวจและรักษาผู้ป่วย STEMI ได้อย่าง
               ถูกต้อง รวดเร็ว และทันเวลา ในปี 2562 มีผู้ป่วย STEMI 18 ราย ได้ให้SK 14 รายก่อนส่งต่อ คิดเป็นร้อยละ 77.78 เพิ่มจาก
               ปีที่แล้วและ 1 ราย ให้ที่ ward ชาย มีผู้ป่วยเสียชีวิตขณะส่งต่อ 1 รายสามารถให้ยาได้ที่ ER  13 รายและที่ ward 1 ราย
               และพยาบาลที่นำส่งมีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย STEMI ที่ได้ยา SK มากขึ้น  และส่งผลให้การส่งต่อมีประสิทธิภาพมากขึ้น
               บทเรียนที่ได้รับ :  โรค STEMI เป็นโรคที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงและการรักษามีความยุ่งยากซับช้อนต้องรักษา
               โดยทีมสหวิชาชีพ ทั้งแพทย์ พยาบาล นักวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ การช่วยตรวจวินิจฉัย เภสัชกร ในการบริหารยา
               โดยเฉพาะพยาบาลที่ดูและขณะนำส่งต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในด้านการอ่าน EKG การใช้เครื่องกระตุกหัวใจ
               Defibrillation เพื่อประเมินผู้ป่วยและให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที และการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปและประชาชน
               กลุ่มเสี่ยงเช่นผู้ป่วยความดัน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเส้นเลือดสูง เพื่อป้องกันการเกิดโรคและให้ความรู้ในการคัดกรองผู้ป่วย
               และการเข้าถึงให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
               คำสำคัญ : SK
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50