Page 47 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 47

43


               01-17  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
               ผู้นำเสนอ : จุฑาวรรณ เจริญภูมิ และกฤษณา ปัทมวิชัย ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

               หน่วยงาน : โรงพยาบาลบัวลาย  จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ :  โรงพยาบาลบัวลายเป็นโรงพยาบาลชุมชนระดับ F3 มีผู้มาใช้บริการจำนวนมากขึ้น
               โดยเฉลี่ย 151 คน/วัน โรงพยาบาลบัวลายห่างไกลจากโรงพยาบาลมหาราชนคราชสีมา 100 กม.และห่างไกล
               จากโรงพยาบาลบัวใหญ่ที่เป็นโรงพยาบาล Node มีอายุรแพทย์ 16 กม. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเบาหวาน
               ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจจำนวน 1,507 ราย (ปี 2560)
               ปี 2561 พบผู้ป่วยวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจ 4 ราย เสียชีวิต 1 ราย จากการหาสาเหตุของการดูแลผู้ป่วย
               โรคหลอดเลือดหัวใจ  มีสาเหตุจากกระบวนการประเมินอาการ ดูแลผู้ป่วย การวินิจฉัยล่าช้า เจ้าหน้าที่กู้ชีพขั้นพื้นฐาน
               ในแต่ละตำบลหรือ FR ยังมีไม่ครอบคลุมทั่วถึงทุกตำบล การให้ความรู้เกี่ยวการสังเกตอาการแก่ประชาชนยังไม่ทั่วถึง

               และผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย STEMI ได้รับยา SK ล่าช้า
               กิจกรรมการพัฒนา : กิจกรรมการพัฒนาครั้งที่ 1 ปี 2561  ได้แก่ 1) จัดทำ CPG การและแนวทางการดูแลผู้ป่วย
               STEMI เพื่อใช้ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน เน้นการประเมินคัดกรองให้รวดเร็ว  2) มีระบบส่ง Consult EKG ที่ผิดปกติ
               กับแพทย์เฉพาะทางที่รพ.มหาราชนครราชสีมา ทุกราย และส่ง Lab Trop-T ช่วยในการ Investigation ทุกราย
               3) มีการประสานงานกับโรงพยาบาลบัวใหญ่และโรงพยาบาลมหาราช ในระบบ Fast Tract for STEMI
               เพื่อจัดเตรียมความพร้อมส่งต่อผู้ป่วยเพื่อไปรับยา SK ที่รพ.บัวใหญ่  กิจกรรมการพัฒนาครั้งที่ 2 ปี 2562 ได้แก่
               1) เพิ่ม Competency พยาบาล ER ในการอ่านและแปลผล EKG เบื้องต้น  2) ทบทวน case STEMI ทุกราย
               เพื่อหาสาเหตุของปัญหามาป้องกันและแก้ไข  3) จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยโดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล

               ผู้ป่วยโดยการให้ยา SK ที่รพ.บัวลาย โดยมีพี่เลี้ยงจากรพ.บัวใหญ่มาให้ความรู้ และส่งเจ้าหน้าที่ฝึกปฏิบัติงานการดูแล
               ผู้ป่วยระหว่างให้ยา SK ที่รพ.บัวใหญ่  กิจกรรมการพัฒนาครั้งที่ 3 ปี 2563 (ต.ค.-ธ.ค.62) ได้แก่ 1) ปรับปรุง
               แบบคัดกรองให้ครอบคลุมโดยกำหนด Criteria ผู้ป่วยที่ต้องทำ EKG 12 leads (ผู้ป่วยที่มาโดยอาการ Severe
               Dyspepsia อายุ 35 ปีขึ้นไปทุกราย)  2) เพิ่มศักยภาพบุคลากร อบรมพยาบาลในการอ่านและแปลผล EKG
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :  จากการทบทวนผู้ป่วยทุกรายที่วินิจฉัย STEMI ที่ได้รับการดูแล
               ที่ รพ.บัวลาย และส่งต่อไปยัง รพ.บัวใหญ่ได้รับยา SK ผู้ป่วยได้รับการเข้าถึงยาที่ล่าช้า และเป็นการเสี่ยงที่จะทำให้
               ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ทางทีมจึงพัฒนาแนวทางและพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับยา SK ที่ รพ.เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา
               ที่รวดเร็วขึ้น จากปี 2561 ผู้ป่วย STEMI 4 ราย ได้รับยา SK 2 ราย เสียชีวิต 1 รายที่รพ.บัวลาย ปี 2562
               ผู้ป่วย STEMI ได้รับยา SK 5 ราย เสียชีวิต 2 ราย ที่รพ.มหาราช หลังการทบทวนและพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับยา

               SK ที่รพ.ผู้ป่วย STEMI 2 ราย ได้รับยา SK 2 ราย
               บทเรียนที่ได้รับ :  1) การให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงในเรื่องสัญญาณเตือนเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรณรงค์
               เพื่อให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลและได้รับการส่งต่อได้ทันเวลา  2) เจ้าหน้าที่สามารถประเมินผู้ป่วยได้ทันเวลาและถูกต้อง
               จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อทันเวลา  3) การมีแนวทางการดูแลผู้ป่วย STEMI สำหรับแพทย์พยาบาลสามารถป้องกัน
               ไม่ให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างไม่คาดฝัน  4) การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับยา SK ที่รพ.เป็นการพัฒนา
               การรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วขึ้น
               คำสำคัญ : AMI, STEMI, Mortality, Diagnosis
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52