Page 48 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 48
44
01-18 Poster Presentation PCT ฉุกเฉิน
ชื่อเรื่อง : Stroke Fast track ด้วย Quick set up
ผู้นำเสนอ : สุขุมาล สุตะนนท์ ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
E-mail : sutannths1976@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4469 9238 ต่อ 2101
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 4832 1067 ID line : -
หน่วยงาน : โรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ความเป็นมาและความสำคัญ : โรงพยาบาลคูเมืองเป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง ไม่มีแพทย์เฉพาะทางอายุรแพทย์
ไม่มีเครื่อง CT Scan และไม่มียา r-tPA ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ดังนั้นจึงต้องมีการส่งต่อการรักษาไปที่โรงพยาบาล
บุรีรัมย์ทั้งหมด สถิติผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่เข้ารับการรับบริการปี 2559-2562(ถึง ต.ค.) มีจำนวนผู้ป่วย
Stroke รายใหม่ 116, 146, 113 และ 119 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยส่งต่อที่ได้รับการรักษาภายใน Gloden period
นับตั้งแต่ onset ที่มารับบริการภายใน 3 ชั่วโมงหากได้รับการดูแลที่รวดเร็วเหมาะสมจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิต
และความพิการที่จะเกิดกับผู้ป่วยได้ จากการทบทวนพบว่าผู้ป่วย Stroke fast track ที่ไม่ได้รับการส่งต่อ
ภายใน 30 นาทีจากการประเมินอาการผิดพลาด การจัดระบบการดูแลที่ล่าช้า ทีมส่งต่อผู้ป่วยไม่พร้อม
จึงได้มีปรับระบบในการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม Stroke fast track เพื่อความรวดเร็วในการส่งต่อ
กิจกรรมการพัฒนา : เพิ่มศักยภาพบุคลากรในการประเมินอาการ Stroke พัฒนาทีม Stroke Fast track
อย่างต่อเนื่อง โดยใช้แนวคิด Lean มาใช้ในกระบวนการดูแลผู้ป่วย Stroke fast track ด้วยระบบ Quick set up
ดูแลให้ได้รับการส่งต่อภายใน 30 นาทีนับจากถึงโรงพยาบาลคูเมือง โดยการกำหนดบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
ที่ปฏิบัติงานใน ER ที่ชัดเจน ปรับอัตรากำลังการขึ้นปฏิบัติงานทีมส่งต่อ และพนักงานขับรถเพื่อให้ทีมมีความพร้อม
ตลอด 24 ชั่วโมง
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ก่อนเริ่มดำเนินการในปี 2559-2560 ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน
ในโรงพยาบาล และยังไม่มีการจัดระบบการดูแล ผู้ป่วย Stroke fast track ด้วยระบบ Quick set up
อัตราความสำเร็จในการส่งต่อผู้ป่วย ผู้ป่วย Stroke fast track ภายใน 30 นาทีคิดเป็น 56.82% และ 62.79%
ตามลำดับ หลังจากเริ่มดำเนินการและวางระบบในการดูแลด้วยระบบ Quick set up อัตราความสำเร็จในการส่งต่อ
ผู้ป่วย ผู้ป่วย Stroke fast track ภายใน 30 นาที ปี 2561 82.35% ในปี 2562 94.12% และยังพบผู้ป่วย Stroke
fast track ที่ต้องทำหัตถการใส่ท่อช่วยหายใจ ที่ต้อง CPR ส่งต่อไม่ทันเวลาจำนวน 3 ราย
บทเรียนที่ได้รับ : การคัดกรองและการค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การประชาสัมพันธ์ การมีแนวทางที่ชัดเจนตลอด
จนการฝึกอบรมให้กับบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งสำคัญเพราะจะทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว
ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจ ลดข้อผิดพลาดต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานและปฏิบัติงานได้รวดเร็ว ซึ่งต่อไปทางทีมงาน
จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองแก่ประชาชนต่อไป
โดยครอบคลุมทุกกลุ่มอายุเพื่อให้ตระหนักอาการและการเข้ารับบริการที่รวดเร็วเมื่อเกิดอาการ
คำสำคัญ : Stroke fast track, Quick set up, Lean