Page 43 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 43

39


               01-13  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : จากกระพรี้สู่ผีเสื้อ STEMI ซับใหญ่
               ผู้นำเสนอ : สตภัส ผลพรต             ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพ

               E-mail : pensakun05@gmail.com       เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 6653 3450
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ

               ความเป็นมาและความสำคัญ : โรงพยาบาลซับใหญ่เป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก ยกระดับจากศูนย์สุขภาพชุมชน
               บุคลากรทางการพยาบาลส่วนมากเป็นพยาบาลจบใหม่ หรือไม่มีประสบการณ์การทำงานจากที่อื่น กล่าวคือ พยาบาล
               ที่ปฏิบัติงานห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินทั้งหมด 13 คน เป็นพยาบาลที่มีประสบการณ์เพียง 5 คน อาจทำให้การประเมิน
               ผู้ป่วยและการดูแลผิดพลาด อีกทั้งการตั้งบ้านเรือนของประชาชนอยู่ในพื้นที่การเกษตร ประชาชนเข้าถึงบริการล่าช้า
               เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก และขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงสูงต้องการการ
               ช่วยเหลือเร่งด่วน สถิติผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (STEMI) ปี 2560  มีจำนวน 15 คน และในปี 2561 มี

               จำนวน 25 คน ศักยภาพของโรงพยาบาลเป็นเพียงการดูแลเบื้องต้นแล้วส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่าย อนาคตผู้ป่วยกลุ่มนี้
               จะมีจำนวนมากขึ้นจากจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพ
               โรงพยาบาลให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบริบทของโรงพยาบาล
               กิจกรรมการพัฒนา :
                    1.  กำหนดเกณฑ์การแยกประเภทผู้ป่วย 5 ระดับ ประชุมชี้แจง และประเมินการปฏิบัติ
                    2.  จัดทำแนวทางการประเมินอาการที่เข้าได้กับ ACS เพื่อให้เข้าสู่ระบบ Fast Tract ได้ทันเวลา
                    3.  พัฒนาระบบ STEMI FAST TRACT โดยจัดทำแนวทางเชื่อมโยงจากรพ.สต.ถึงโรงพยาบาลชุมชน และ
                        โรงพยาบาลแม่ข่าย

                    4.  พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่รพ.สต. และเจ้าหน้าที่ FR ในการประเมินอาการ และอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ
                    5.  ส่งเสริมให้มีการคัดกรอง CVD Risk ใน NCD Clinic ของโรงพยาบาล และในชุมชน
                    6.  ให้ความรู้ประชาชนเพื่อให้เข้าถึงบริการ 1669
                    7.  เพิ่มศักยภาพโรงพยาบาลให้สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (SK) เมื่อต้นปี 2562
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
                    1.  ทำ EKG ได้ภายใน 10 นาที (Door to EKG) มีแนวโน้มดีขึ้น
                    2.  ในปี 2562 สามารถให้ยา SK ได้ 3 ราย แต่ไม่สามารถให้ได้ภายใน 30 นาที จึงเป็นโอกาสพัฒนา
                    3.  อัตราการเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันน้อยกว่าร้อยละ 10 (ผลงาน 7.4)
               บทเรียนที่ได้รับ : การพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาล อันดับแรกคือการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ มีทักษะในการ

               ทำงาน และทำความเข้าใจทั้งเครือข่าย เพื่อการประสานการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
               คำสำคัญ : STEMI, กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, การพัฒนาการดูแลผู้ป่วย STEMI
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48