Page 46 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 46

42


               01-16  Poster Presentation P


               ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
               ผู้นำเสนอ : รุจิเรศ ศรีลาย    ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
               E-mail : santawn@hotmail.com        เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน :  0 4486 9137  ต่อ 115

               เบอร์โทรศัพท์มือถือ :  09 1052 7121   ID line : tikkysrilai
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

               ความเป็นมาและความสำคัญ : ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงที่สำคัญในหน่วยงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ได้แก่ ผู้ป่วยกลุ่มอาการ
               Acute Coronary Syndrome : ACS ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเพื่อค้นหาภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
               ชนิด ST Elevation Myocardial Infraction (STEMI) อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต จากสถิติผู้ป่วย
               โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันของโรงพยาบาลเกษตรสมบูรณ์ ในปี 2558-2561 จำนวน 10, 19, 15 และ 18 ราย
               ตามลำดับ และมีผู้เสียชีวิตในปี 2560 ถึง 2561 จำนวน 2 และ 3 รายตามลำดับ จากการทบทวนวิเคราะห์สาเหตุ
               พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการคัดกรองผิดพลาดล่าช้า ผู้ป่วยส่วนหนึ่งได้รับการส่งไปตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก ได้รับการทำ
               EKG ไม่ทันภายใน 10 นาที ทำให้วินิจฉัยและให้การดูแลได้ล่าช้า อีกทั้งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง

               ไม่มีอายุรแพทย์ การคัดกรองและวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว รวมถึงให้การรักษาในภาวะวิกฤติเบื้องต้น ได้แก่ การให้ยา
               thrombolytic agent (Streptokinase) ก่อนส่งตัวไปทำ Primary PCI ที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า
               จึงมีความสำคัญ ทีมนำทางคลินิกจึงมีเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโดยพัฒนา
               ทุกขั้นตอนของการดูแล โดยเฉพาะจุดเน้นเรื่องเข้าถึงเข้ารับบริการที่รวดเร็ว และป้องกันการวินิจฉัยล่าช้า
               เพื่อให้ผู้ป่วย AMI ได้รับการรักษาถูกต้องรวดเร็ว ลดอัตราตายและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้รับบริการต่อไป
               กิจกรรมการพัฒนา :  ทีมนำทางคลินิกประชุมทบทวนแนวทางการคัดกรองแยกประเภทผู้ป่วย และปรับปรุง
               ระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการ Acute Coronary Syndrome / Fast Tract ในหน่วยงาน โดย 1) พัฒนา

               ความรวดเร็วในการเข้าถึงโดยให้ความรู้และประชาสัมพันธ์เรื่องโรค AMI และการใช้บริการ EMS แก่ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
               เช่น ผู้ป่วย DM, HTและผู้ดูแล อสม.และเจ้าหน้าที่ FR  2) ปรับปรุงแนวทางในการคัดกรองผู้ป่วย AMI มี Chest Pain
               Protocol ผู้ป่วยที่สงสัยมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทั้ง Typical และ Atypical Chest pain และให้ได้รับ
               การคัดกรองและทำ EKG ภายใน 10 นาที  3) พัฒนาศักยภาพพยาบาล สามารถอ่านและแปลผล EKG เบื้องต้นได้
               สามารถปรึกษารายงานแพทย์ได้ทันที เปิดส่งตรวจ cardiac enzyme (CK-MB, Trop T) ตลอด 24 ชั่วโมง
               และประกันเวลาผลตรวจภายใน 20 นาที  4) ระบบปรึกษา STEMI FAST TRACK กับโรงพยาบาลแม่ข่าย
               และแพทย์เฉพาะทางอย่างรวดเร็ว และระบบส่งต่อโดยเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ได้รับการอบรมเรื่องการให้ยา
               Streptokinase เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาภายใน 30 นาที อย่างปลอดภัย มีพยาบาลดูแลขณะส่งต่อ 2 คน ประเมินซ้ำ
               และมีแบบฟอร์มบันทึกการดูแลขณะนำส่ง สามารถใช้เครื่องมือช่วยชีวิต AED หรือ Defibrillator ในรถฉุกเฉินได้
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :  ร้อยละผู้ป่วย AMI ได้รับการคัดกรองและทำ EKG ภายใน 10 นาที

               ปี 2560-62 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 73.3, 77.8, 100 ตามลำดับ ในปี 2560-62 ผู้ป่วย STEMI, NSTEMI ได้รับยา ASA,
               Clopidogrel เมื่อมีข้อบ่งชี้ภายใน 20 นาที เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 33.3, 37.8, 66.7 ตามลำดับ ผู้ป่วย STEMI
               ได้รับยา SK เมื่อมีข้อบ่งชี้ภายใน 30 นาที เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50.0, 66.7, 100 ตามลำดับ อัตราเสียชีวิตผู้ป่วย STEMI
               ในโรงพยาบาลและระหว่างส่งต่อ ปี 2560-62 ร้อยละ 13.3 (2/15 ราย), 16.7 (3/18 ราย), 0 (0/10 ราย) ตามลำดับ
               บทเรียนที่ได้รับ :  ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันสามารถเข้าถึงบริการได้รวดเร็วทันเวลา
               รวมถึงความรวดเร็วในการวินิจฉัยเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ลดอัตราตาย เพิ่มคุณภาพชีวิต
               และหน่วยงาน ER, OPD และ ward มี chest pain protocol ใช้ร่วมกันฉบับเดียวกันทั้งโรงพยาบาลในการประเมิน

               ผู้ป่วยที่มีอาการกลุ่มโรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอัตราการคัดกรองผิดพลาด
               คำสำคัญ : กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, Acute Coronary Syndrome, Chest pain protocol
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51