Page 41 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 41
37
01-11 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : เพิ่มการเข้าถึงการคัดกรอง Atrial Fibrillation และคัดกรอง CVD risk เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองใน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ผู้นำเสนอ : พัชราภรณ์ โชติขุนทด ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
E-mail : dkthospital@hotmail.com เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 0821 5631
หน่วยงาน : โรงพยาบาลด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : ปัจจุบันผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลด่านขุนทดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ข้อมูล
โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของความพิการระยะยาวพบได้ทั้งชายและหญิง การพัฒนาระบบบริการ
โรคหัวใจและหลอดเลือดมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการตายและความพิการ เพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดภาวะแทรกซ้อน
และการกลับมาเป็นซ้ำ ในปี 2561 พบผู้ป่วยเกิด recurrent stroke ในอำเภอด่านขุนทด จำนวน 33 คน ในจำนวนนี้
พบว่ามีสาเหตุจาก Atrial Fibrillation (AF) จำนวน 5 ราย ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่พบว่าเป็นกลุ่ม
ที่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 60 คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลด่านขุนทด จึงพัฒนาการคัดกรองภาวะ AF
และการคัดกรอง CVD risk ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ให้ได้รับการค้นหา AF และได้รับยา
ป้องกันในกรณีผล CVD risk เป็นกลุ่ม High risk และนำเข้าสู่กระบวนการรักษา เพื่อป้องกันการเกิด embolic
stroke และ recurrent stroke ต่อไป โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง AF มากกว่าร้อยละ 70
และผู้ป่วยที่ผล CVD risk เป็นกลุ่ม High risk ได้รับยาป้องกันมากกว่าร้อยละ 80
กิจกรรมการพัฒนา : (1) คัดกรอง AF โดยใช้เครื่องวัดค่า Oxygen saturation แบบที่มี Pulse โดยดำเนินการคัด
กรองในพื้นที่ รพ.สต. (2) ประเมิน CVD risk ในผู้ป่วยนัดต่อเนื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงทุกครั้งที่เข้า
รับการรักษา (3) ส่งต่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงและยังไม่ได้รับยาป้องกันพบแพทย์เพื่อพิจารณาวางแผนป้องกันโรคหลอด
เลือดสมอง โดยกลุ่มที่มีความผิดปกติ AF เข้าถึงยา warfarin และกลุ่มที่มีผล CVD risk เป็นกลุ่ม High risk เข้าถึงยา
ป้องกันตามความเสี่ยง
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : การคัดกรอง AF กลุ่มเสี่ยงไปแล้ว 19 รพ.สต. 1 PCC กลุ่มเสี่ยงได้รับการ
คัดกรอง ร้อยละ 75.37 (2,625/2,912) พบการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ 24 ราย มีภาวะ AF 15 ราย (ร้อยละ 0.57)
ผู้ที่มีความผิดปกติมีภาวะหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ เข้าถึงยา Warfarin ร้อยละ 80 (12/15) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการประเมิน CVD risk เป็นกลุ่ม High risk และได้รับยาป้องกันตามแนว
ทางการรักษา ร้อยละ 83.54
บทเรียนที่ได้รับ : การค้นหาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพื่อเข้าถึงการป้องกัน
ด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ และ
ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงเข้าถึงยาป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ครอบคลุมมากขึ้น การทำงานร่วมกับ
เครือข่ายส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงเข้าถึงบริการในพื้นที่ได้ง่ายขึ้น
คำสำคัญ : คัดกรอง AF, การประเมิน CVD risk, การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ