Page 37 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 37

33


               01-07  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การดูแลผู้ป่วย Stroke
               ผู้นำเสนอ : ปัทมาสน์ คุ้มจันอัด     ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

               เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4475 6175 ต่อ 209
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลพระทองคำเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : ผู้ป่วยพบบ่อยในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและ
               หัวใจ แต่โรงพยาบาลพระทองคาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาเป็นโรงพยาบาลชุมชนระดับ F2 ไม่มีอายุรแพทย์ ขีด
               ความสามารถในการรักษา คือ การคัดกรองและวินิจฉัยเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว รักษาพยาบาล
               ในภาวะวิกฤตก่อนส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาให้ทันเวลา golden period (4.5 ชั่วโมง)
               เพื่อทา CT scan และให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดา (recombinant tissue plasminogenactivator; rt-
               PA) ภายใน 270 นาที นับจากเกิดอาการ ผู้ป่วยที่พบส่วนมากอายุ 50 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยมี

               โรคประจาตัวคือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง ประชาชนบางส่วนขาดความรู้เรื่อง early warning
               sign และสายด่วน 1669 ส่วนใหญ่ญาติพามาโรงพยาบาลเอง
               กิจกรรมการพัฒนา : มีการพัฒนาการเข้าถึงและเข้ารับบริการ โดย (1) งาน NCD ทาการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน
               ประจาปีในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง และให้ความรู้เกี่ยวกับ early warning sign ของ stroke (2)
               ประชาสัมพันธ์ช่องทางสายด่วน 1669 ในกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการและในที่ประชุมอำเภอ (3) ปรับปรุงแนวทางการ
               คัดกรอง stroke และสื่อสารให้บุคลากรทุกกลุ่ม โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ด่านหน้า เพื่อให้สามารถคัดกรองละช่วยเหลือ
               เบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วและ (4) จัดให้มีระบบการวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยLab และหัตถการ ได้แก่ DTX และ EKG ซึ่ง
               แปรผลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ก็มีการพัฒนาระบบการดูแลรักษา โดย (1) ทบทวนกระบวนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้น

               สูงให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นประจาทุกปี (2) จัดระบบสารองของพยาบาล refer และพนักงานขับรถให้ต่อเนื่อง
               24 ชั่วโมง และ (3) พัฒนาระบบการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผ่าน Line และ Fax
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น stroke ที่ activated fast track มีสัดส่วน
               เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 27.14 ในปีงบประมาณ 2560 เป็นร้อยละ 32.81 และ 39.62 ในปีงบประมาณ 2561 และ 2562
               ตามลำดับ ผู้ป่วย Stroke (Fast track) ได้รับการส่งต่อภายใน 30 นาที และผู้ป่วย Stroke ได้รับการดูแลตามแนวทาง
               ทุกคน ในปีงบประมาณ 2560 - 2562
               บทเรียนที่ได้รับ : การประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการให้ความรู้เรื่องโรค ส่งผลให้ประชาชนสามารถประเมิน อาการ
               เบื้องต้นและเข้ารับบริการได้เร็วมากขึ้น รวมทั้งการทางานที่ประสานกันเป็นทีมตั้งแต่ชุมชนจนถึงโรงพยาบาล
               ปลายทางส่งผลดีต่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยและเทคโนโลยีสมัยใหม่ทาให้การทางานระบบ fast track สะดวกขึ้น
               คำสำคัญ : โรคหลอดเลือดสมอง Stroke
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42