Page 33 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 33
29
01-03 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : Clinical Tracer : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis
ผู้นำเสนอ : เมธิกา ปาโสม ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
E-mail : Metika2535@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : -
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 3092 3323 ID line : -
หน่วยงาน : โรงพยาบาลโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์
ความเป็นมาและความสำคัญ : ปัญหาเรื่องภาวะ Sepsis เป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาลโนนารายณ์ เนื่องจากเป็น
สาเหตุที่ทำให้ ผู้ป่วยเสียชีวิต และเป็นสาเหตุที่ทำให้ ส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลสุรินทร์ เนื่องจากมีอาการทรุดลง
ขณะรับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล จากข้อมูลมีจำนวนผู้ป่วย Sepsis ในปีงบประมาณ 2559-2562 (1 ตุลาคม 2558
-10 พฤษภาคม 2562) จำนวน 18, 98 ,101 และ 73 ราย ตามลำดับ จากการทบทวนพบว่า อุบัติการณ์เกิด Septic
shock ในผู้ป่วย Sepsis จำนวน 1, 25, 42 และ 18 ราย ตามลำดับ มีผู้ป่วยเสียชีวิตในปีงบประมาณ 2559 - 2562
จำนวน 0 , 1 (case Non-Hodgkin's lymphoma ญาติและผู้ป่วย NR), 0 และ 0 ราย จากการทบทวนพบว่า ยังมี
ปัญหา septic shock แนวโน้มไม่ลดลง เกิดจากการเข้าถึงล่าช้าของผู้ป่วยเพราะมักจะรอดูอาการเองที่บ้านเป็น
เวลานาน เมื่อมาถึงโรงพยาบาลก็มีอาการค่อนข้างหนักและมีภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงมากขึ้น จึงได้พัฒนาแนว
ทางการดูแลผู้ป่วย Sepsis เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและได้รับยา Antibiotic ที่เหมาะสมและรวดเร็ว
วัตถุประสงค์/ เป้าหมาย/ เครื่องชี้วัด : 1) ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว 2) ผู้ป่วยได้รับ ATB ภายในเวลา
1 ชั่วโมงหลังได้รับการวินิจฉัย sepsis 3) ลดอัตราการเกิดภาวะ Severe Sepsis, Septic shock และ multiple
organs failure
กิจกรรมการพัฒนา : 1) พัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย Sepsis 2) อบรมให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 3)
กำหนดเกณฑ์ส่งต่อ 4) กำหนดแนวทางการประเมินซ้ำและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงภาวะ Shock ตามความ
รุนแรง 5) พัฒนาระบบประกันเวลาในเรื่องการรายงานผล Lab ด่วน และประกันเวลาการให้ยา Antibiotic ที่ ER 6)
มีการส่งตรวจ Hemoculture ในผู้ป่วยที่สงสัย Sepsis ทุกราย
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
เครื่องชี้วัดสำคัญ เป้าหมาย 2559 2560 2561 2562
จำนวนผู้ป่วย Sepsis ,Septic shock 18 98 101 73
1.อัตราการเสียชีวิต < 30 % 0 1 0 0
2.อัตราการเจาะ Hemoculture ก่อนให้Antibiotic >80 % 22 % 36 % 83 % 93 %
3.อัตราการได้รับ ATB ภายใน 1 ชั่วโมงหลัง การวินิจฉัย >80 % 100 % 100 % 100 % 100 %
sepsis
บทเรียนที่ได้รับ : มีการนำแบบประเมิน Qsofa มาใช้แทนแบบประเมินSIRs ในการประเมินผู้ป่วยSepsis หากมี
คะแนน ≥ 2 ให้ใช้แบบประเมิน SOS score มาประเมินการดูแลผู้ป่วย Sepsis ทุกเคส และการใช้Blood Lactase
มาช่วยในการวินิจฉัยโรคได้รวดเร็วขึ้น-