Page 34 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 34
30
01-04 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
ผู้นำเสนอ : จันทร์เพ็ญ พาเจริญ ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
E-mail : F_pacharean@yahoo.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4465 0317 ต่อ 1201
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 8583 7968 ID line : chunpen25
หน่วยงาน : โรงพยาบาลใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
ความเป็นมาและความสำคัญ : จากข้อมูลการทบทวนการดูแลผู้ป่วยในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา พบจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต
ในโรงพยาบาลและส่งต่อโรงพยาบาลศูนย์โดยมิได้วางแผน มีอาการทรุดลงขณะรักษาตัวในโรงพยาบาลและเกิดภาวะ
Severe Sepsis เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ข้อมูลปี 2559 - 2561 พบจำนวนผู้ป่วย Sepsis ใน
โรงพยาบาล ในปี 2559 จำนวน 48 ราย เสียชีวิต 2 รายคิดเป็นร้อยละ 4.16 ปี 2560 จำนวน 42 ราย เสียชีวิต 2 ราย
คิดเป็นร้อยละ 4.76 และในปี 2561 จำนวน 37 ราย เสียชีวิต 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.51 และทีมได้นำข้อมูลการ
ดูแลผู้ป่วย Sepsis มาทบทวนพบว่า ปี 2559 มีจำนวนผู้ป่วย Sepsis จำนวน 48 ราย เป็นผู้ป่วยทั่วไป 19 ราย, เป็น
ผู้ป่วยสูงอายุมีโรคเรื้อรัง 29 ราย, Unplanned refer จำนวน 7 ราย, ประเมินล่าช้า ร้อยละ 16.66 (8 ราย), การเกิด
Septic shock/ Severe sepsis ระหว่าง Admit 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.58 พบปัญหาในการให้ Antibiotic ล่าช้า
เนื่องจากการประเมินล่าช้าและไม่ปฏิบัติตามแนวทาง Sepsis จากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่า แนวทางไม่ชัดเจน
ผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจการใช้แนวทาง และขาดการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง ในปี 2560 พบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยด้วย
ภาวะ Sepsis จำนวน 42 ราย เป็นผู้ป่วยสูงอายุและมีโรคเรื้อรังจำนวน 26 ราย Unplanned Refer 2 ราย พบปัญหา
การไม่ได้กำกับติดตามทำให้เกิดการประเมินล่าช้าเพราะไม่ได้ประเมินแรกรับ 7 ราย, วางแผนการดูแลไม่เหมาะสม 4
ราย, การเกิด Septic shock/ Severe sepsis ระหว่าง Admit 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.76 ปี 2561 จำนวนผู้ป่วย
37 ราย, Unplanned Refer 5 ราย, เกิดภาวะ Septic shock / Severe sepsis ระหว่าง Admit 2 ราย คิดเป็นร้อย
ละ 5.40 และเมื่อนำมาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาพบว่า ระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis ไม่ชัดเจน ระบบการประเมิน
และเฝ้าระวังไม่ชัดเจน ส่งผลกระทบที่รุนแรงในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นโรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์จึง
ได้มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis
กิจกรรมการพัฒนา : ปี 2559 ส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมกับทีม Service plan ของจังหวัดทบทวนและปรับปรุง CPG
Sepsis และจัดทำ Standing Order สำหรับในการประเมินและการดูแลผู้ป่วย ปี 2560 พัฒนาศักยภาพในการ
ประเมินผู้ป่วยของผู้ปฏิบัติงานในจุด triage พัฒนาแบบ Check list จุด triage ในการประเมินผู้ป่วย Sepsis พัฒนา
Care map ในการดูแลผู้ป่วย Sepsis เพื่อเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง มีระบบกำกับติดตามการใช้ CPG อย่าง
ต่อเนื่อง ปี 2561 ปรับระบบคัดกรองผู้ป่วย Sepsis ทุกรายจากจุด Triage ปรับระบบการประเมินโดยใช้ SOS score
กำหนดเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคให้ชัดเจน โดยทีม PCT และองค์กรแพทย์ กำหนดกลุ่มที่ต้องมีการเฝ้าระวังภาวะเสี่ยง
ต่อการเกิดภาวะ sepsis ได้แก่ ติดเตียง, สูงอายุและโรคเรื้อรัง, Low immune, ผู้ป่วยที่มีแผล พัฒนาแบบเฝ้าระวัง
ผู้ป่วยและนำ SOS score มาใช้ในการประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะ Sepsis มีระบบการรายงานแพทย์ SBAR ทันทีกรณี
ผู้ป่วย SOS score > 4 พัฒนาคลังข้อมูลผู้ป่วย Sepsis โดยใช้ Qilk view ในการดึงรายงานเพื่อให้หน่วยงานสามารถ
ดูรายงานผู้ป่วยได้แบบ Real time
บทเรียนที่ได้รับ : จากการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis ที่ผ่านมา บทเรียนที่สำคัญคือ การสื่อสารแนวทาง
ปฏิบัติที่ทำให้บุคลากรเข้าใจการปฏิบัติที่ตรงกันและการติดตามกำกับเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติ อีกทั้ง
รพ. มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรบ่อย ทำให้การสื่อสารแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ เกิดความล่าช้า ฉะนั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องมี
ระบบการติดตามต่อเนื่องและมีการประเมินผลแนวทางปฏิบัติจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการดูแลรักษา
เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและลดอัตราการเสียชีวิตใน รพ.
คำสำคัญ : Sepsis, Severe sepsis