Page 32 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 32
28
01-02 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis “รวดเร็ว ถูกต้อง ลดภาวะแทรกซ้อนจาก Sepsis”
ผู้นำเสนอ : ชนิกา มหาธำรงชัย ตำแหน่ง : นายแพทย์ปฏิบัติการ
E-mail : janifer_jane@hotmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 044-397111 ต่อ 105
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 083-092-3323 ID line : -
หน่วยงาน : โรงพยาบาลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะฉุกเฉินที่มีความสำคัญ
เนื่องจากพบได้บ่อยในโรงพยาบาลชุมชน มีความรุนแรง และมีอัตราการตายสูงจากภาวะแทรกซ้อน โดยโรงพยาบาล
ขามทะเลสอ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง จากข้อมูล ปี 2558 – 2560 พบว่ามีการประเมินคัดกรองภาวะ
sepsis ผิดพลาดส่งผลต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยล่าช้า เนื่องจากบุคลากรยังไม่เข้าใจแนวทางการปฏิบัติและรักษาใน
คนไข้sepsis ข้อมูลทางสถิติยังไม่มีบริบทที่แน่นอน ผู้ป่วย sepsis ในโรงพยาบาล ปี 2560 - 2562 จำนวน 31, 95
,113 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ปี 2561 พบภาวะแทรกซ้อน septic shock 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.94, respiratory
failure 17ราย คิดเป็นร้อยละ 17.89 เสียชีวิตในโรงพยาบาล จำนวน 1 ราย และเสียชีวิตใน 24 ชั่วโมง หลังส่งตัวต่อ
โรงพยาบาลมหาราช จำนวน 8 ราย ทำให้ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะทุพพลภาพจนลดทอนคุณภาพชีวิตภายหลัง อีกทั้ง
จะต้องใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย sepsis การคัดกรอง การให้ยาฆ่าเชื้อ
โดยเร็ว การให้สารน้ำที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ไม่เกิดภาวะ multiple organ dysfunction ซึ่งเป็นสิ่งที่
แพทย์และ สหวิชาชีพต้องวางระบบร่วมกันเพื่อการดูแลรักษาภาวะนี้อย่างดีที่สุดตั้งแต่ระบบการประเมินคัดกรอง,
การให้ยาฆ่าเชื้อ ทันเวลา ประเมินติดตามอย่างถูกต้องรวดเร็ว ลดอัตราการเสียชีวิตได้
กิจกรรมการพัฒนา : 1. ปรับปรุงพัฒนาแนวทางการคัดกรองและดูแลภาวะsepsis จากการทบทวนเวชระเบียนอย่าง
สม่ำเสมอโดยใช้ SOS ร่วมกับ qSOFA ที่ห้องฉุกเฉินและประเมินติดตามด้วย SOSร่วมกับ MEWS.ในหอผู้ป่วยใน 2.
พัฒนาแบบบันทึกการดูแล sepsis ของการพยาบาล 3. ปรับปรุง Standing order sepsis โดยเพิ่มแนวทางการ
ประเมินสารน้ำด้วย ultrasound IVC หลัง initial management แล้ว SOS>=4 และติดตามอย่างต่อเนื่องในIPD 4.
เพิ่มเกณฑ์การconsultอายุรแพทย์โรงพยาบาลมหาราช ในรายที่หลัง initial management SOS>=5 5.กำหนด
ระยะเวลาผู้ป่วยอยู่ในห้องฉุกเฉินไม่ควรเกิน3ชั่วโมง 6. หมุนเวียนแพทย์ประจำโรงพยาบาลไปอบรมsepsis ของ
จังหวัดเพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆเกือบครบทุกคน 7. ทบทวนเคสอุบัติการณ์ Death case sepsis, complicationใน
โรงพยาบาลทุกเคส 8. ประชุมทบทวนอุบัติการณ์และความรู้ใหม่ๆในองค์กรแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ในปีงบประมาณ 2561, 2562 ผู้ป่วยได้รับ ATB ภายใน 1 ชั่วโมง ร้อยละ
98.95, 98.23 ตามลำดับ อัตราผู้ป่วยได้ IV fluid อย่างน้อย 1.5L ร้อยละ 54.74, 75.19 ตามลำดับ ผู้ป่วยได้รับการ
ultrasound IVC ประเมินสารน้ำในรายที่ SOS>=4 ร้อยละ 36 ,61.30 ตามลำดับ ผู้ป่วยเกิด ภาวะseptic shock
ร้อยละ10.52 (10ราย), 7.07 (7ราย) ตามลำดับ ภาวะ respiratory failure จำนวน 17, 1 ราย ตามลำดับ เสียชีวิตใน
โรงพยาบาล 1, 3 รายตามลำดับ เสียชีวิตหลัง refer ภายใน24ชั่วโมง 8, 4 รายตามลำดับ อัตราการส่งตัวรักษาต่อ
โรงพยาบาลมหาราช ร้อยละ 34.73, 30.97 ตามลำดับ
บทเรียนที่ได้รับ : การคัดกรอง sepsis ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วและได้รับการประเมินการ
ตอบสนอง มีประโยชน์ในการลดภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการส่งต่อ ลดอัตราการเสียชีวิต ผู้ป่วย sepsis ที่ได้รับการ
รักษาที่ถูกต้องทันท่วงทีจะมีโอกาสรอดชีวิตสูง ภายใต้เงื่อนไขทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในโรงพยาบาลชุมชน
คำสำคัญ : การดูแลรักษาผู้ป่วย sepsis, SOS qSOFA, ultrasound IVC