Page 44 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 44
40
01-14 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบการเข้าถึง การรับบริการ และระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันผู้
นำเสนอ : จารุวรรณ ช่องงาม ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพ
E-mail : Jaruwun.pom@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : -
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 8176 9655 ID line : -
หน่วยงาน : โรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
สถานการณ์กลุ่มภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (ACS , Acute myocardial infarction หรือ Heart
Attack) เป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทยและของโลกนั้น เกิดจากการตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน
ของหลอดเลือดแดงหัวใจ มีการจำแนก 2 ชนิด โดยดูจากผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ ST Elevation MI
(STEMI) ซึ่งหลอดเลือดมีการอุดตัน 100 % และแบบ Non – ST Elevate (NSTEMI) และ Unstable Angina ซึ่ง
หลอดเลือดมีการตีบที่รุนแรง จากข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2553 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอด
เลือดหัวใจเป็นจำนวนถึง 7.2 ล้านคนหรือคิดเป็น 12.2 % ของสาเหตุการตายทั้งหมด สำหรับอัตราตายจากโรคหัวใจ
และหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดสมองในไทยประมาณปี ละ 37,000 ราย เปรียบเทียบกับใน
สหรัฐอเมริกาซึ่งมีผู้ป่วยใหม่ที่เป็น Acute MI มากกว่า 1 ล้านคนต่อปี ประมาณว่าคนอเมริกามีอุบัติการณ์ Acute MI
ทุก 25 วินาที ในระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 คนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจ ต้องนอนโรงพยาบาลวันละ 1,185 รายต่อวัน
โดยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดประมาณ 450 รายต่อวัน เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด
เฉียบพลันในประเทศไทยจะมีอัตราตายสูงกว่าที่อื่นประมาณ 4-6 เท่า
ข้อมูลจากการเก็บรายงานการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ของโรงพยาบาล รัตนบุรี
โดยเก็บสถิติย้อนหลัง 3 ปี พบว่าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการวิเคราะห์พบว่า
ผู้ป่วยที่มารับบริการยังไม่ทราบถึงอาการที่เป็นอันตรายที่ต้องมาพบแพทย์ ไม่ทราบระบบ 1669 จนท.ขาดความรู้ใน
การอ่าน EKG จึงทำให้การเข้าถึงของผู้รับบริการล่าช้ามากขึ้น ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิต จากการทบทวนการ
เสียชีวิตในรอบปีที่ผ่านมา ผู้ป่วย 48 ราย พบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตไม่คาดฝัน จำนวน 2 ราย และจากการทบทวนพบว่า
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิต คือ การเข้าถึงบริการที่ล่าช้า ไม่ทราบระบบ 1669 ไม่ทราบอาการร้ายแรงของโรค และ
เกิดจากพยาธิสภาพของโรค จึงเป็นเหตุผลในการจัดทำการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยและระบบส่งต่อ AMI ขึ้นมา
ดังนั้นจึงได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วย AMI เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ได้รับการดูแลรักษาที่มีคุณภาพมาตรฐาน ตั้งแต่ระยะการคัดกรองโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล จะเป็น
การป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงของการเจ็บป่วย พิการ หรือ ตามบริบทของโรงพยาบาลชุมชนที่เน้นการเข้าถึง ความ
รวดเร็วในการประเมินอาการ เพื่อการวินิจฉัยโรคและส่งต่อได้อย่างรวดเร็วทันเวลา
บทเรียนที่ได้รับ : 1) การเข้าถึงบริการที่รวดเร็วของผู้รับบริการ เช่น ผู้ป่วยตระหนักถึงอาการร้ายแรงของโรค STEMI
, ญาติและผู้ป่วยได้รับ Postcard เกี่ยวกับอาการ STEMI ที่เจ้าหน้าที่ไปแจกติดไว้ที่บ้าน และสามารถประเมินอาการ
เบื้องต้นของตัวเองได้ จึงรีบมาทันที 2) ทีมบุคลากรมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย STEMI เช่น การประเมิน
เบื้องต้นได้รวดเร็ว,การแปลผล EKG, การให้การพยาบาลผู้ป่วย STEMI ,การดูแลขณะให้ยา SK จนถึงการส่งต่อไปรพ.
สุรินทร์ 3) การทำงานเป็นทีมได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร พขร และทีมเยี่ยมบ้าน เป็นต้น 4) การประสานส่งต่อ
ผู้ป่วย STEMI ระหว่าง รพสต.ในเขตพื้นที่อำเภอรัตนบุรี โรงพยาบาลใกล้เคียง รพ.บึงบูรพ์ และโรงพยาบาลแม่ข่าย
รพ.สุรินทร์
คำสำคัญ : STEMI, Fast track, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน