Page 54 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 54

50


               02-01  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแนวทางการตรวจคัดกรองภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) ด้วยเครื่อง Pulse
               oximeter ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อำเภอเมือง นครราชสีมา

               ผู้นำเสนอ : นวลฉวี เพิ่มทองชูชัย      ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพ
               E-mail  Nualchavee_2506@yahoo.com เบอร์โทรศัพท์ : 08 9846 3890
               หน่วยงาน:  โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : ภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation:  AF) เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบ
               บ่อยที่สุด โดยพบได้ร้อยละ 1-2 ในประชาชนทั่วไป โอกาสของการเกิดภาวะนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยประชาชนใน
               กลุ่มอายุ  80-90 ปี จะพบได้สูงถึงร้อยละ 5-15 อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถึงแม้ไม่ทำให้เสียชีวิตแต่อาจนำมาซึ่ง
               ภาวะรุนแรงมากขึ้น โดยเลือดที่ตกค้างในหัวใจห้องบนจะแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด และอาจหลุดเข้าไปในระบบไหลเวียน
               ของเลือดไปสู่สมอง เกิดภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน ผู้ที่มี AF พบว่าอัตราตายเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของคนปกติ และ

               โอกาสเกิด Stroke เพิ่มขึ้น 2-7 เท่า การให้ warfarin จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตในผู้ที่
               พบภาวะ AF ปัจจุบันอำเภอเมืองนครราชสีมา ยังไม่มีระบบการตรวจคัดกรอง AF โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานและ
               ความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง ดังนั้น จึงพัฒนาแนวทางการตรวจคัดกรองภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว ใน
               ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยการตรวจอัตราการเต้นของ ชีพจร ด้วยเครื่อง Pulse oximeter
               วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/เครื่องชี้วัด :
                       1. เพื่อพัฒนาแนวทางการตรวจคัดกรองภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
                       2. เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว ได้รับยา warfarin มากกว่าร้อยละ 85
               กิจกรรมการพัฒนา : แนวคิดการออกแบบกิจกรรมการพัฒนา : เป็นการตรวจคัดกรองภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้วด้วย

               เครื่อง Pulse oximeter ที่มีหน้าจอแสดงกราฟจังหวะการเต้นของชีพจร (plethysmography) ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
               และความดันโลหิตสูง โดยมีกิจกรรม ดังนี้ 1) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย   ผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิต
               สูงที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป (ยกเว้นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว และได้รับยา warfarin แล้ว)
               ในหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอเมืองนครราชสีมา 2) จัดอบรมความรู้และฝึกทักษะการตรวจอัตราการเต้นของชีพจร
               ด้วยเครื่อง Pulse oximeter ให้บุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ 3) จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ด้วย
               เครื่อง Pulse oximeter ในหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอเมืองนครราชสีมา 4) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในรายที่พบผลการ
               ตรวจชีพจรปลายนิ้ว โดยเครื่อง Pulse oximeter ไม่สม่ำเสมอ 5) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจอ่านผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
               และให้การวินิจฉัย 6) จัดระบบให้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย AF ได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด 7)
               ติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง

               บทเรียนที่ได้รับ : เครื่อง Pulse oximeter สามารถนำไปใช้ในการตรวจคัดกรองภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้วในผู้ป่วย
               เรื้อรังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในหน่วยบริการทุกระดับได้จริง
               คำสำคัญ : ภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว, การตรวจคัดกรอง
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59