Page 57 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 57
53
02-04 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการดูแลผู้ป่วย Alcohol Withdrawal
ผู้นำเสนอ : เมขลา ขันหลวง ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
Email : megkhalakhanluang@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ : 09 3360 4850
หน่วยงาน : โรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ความเป็นมาและความสำคัญ: สถิติการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าปี 2559 มีผู้ป่วยที่
Admit ด้วยปัญหาสุรา จำนวน 84 ราย เกิดภาวะ Alcohol withdrawal ร้อยละ 29.76 ปี2560 มีผู้ป่วยที่ Admit ด้วย
ปัญหาสุรา จำนวน 174 ราย เกิดภาวะ Alcohol withdrawal ร้อยละ 28.16 ปี 2561 มีผู้ป่วยที่ Admit ด้วยปัญหา
สุรา จำนวน 198 ราย เกิดภาวะ Alcohol withdrawal ร้อยละ 36.36 ตามลำดับ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น และจากการ
ทบทวนพบว่า กระบวนการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่ายังขาดแนวทางการดูแลที่เป็น
มาตรฐาน ตั้งแต่การประเมิน การรักษาภาวะ Alcohol withdrawal การดูแลของทีมสหวิชาชีพ ปี2560 พบผู้ป่วย
เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะ Seizure จำนวน 4 ราย ได้รับบาดเจ็บจากการผูกมัด 2 ราย การเกิดการติดเชื้อใน
โรงพยาบาล จำนวน 1 ราย และได้รับอุบัติเหตุหกล้ม ตกเตียงจำนวน 4 ราย
กิจกรรมการพัฒนา ใช้แบบประเมินความรุนแรงอาการถอนพิษสุราด้วยเครื่องมือ AWS (Alcohol Withdrawal
Scale) มีแนวทางการประเมินความรุนแรงอาการถอนพิษสุรา ปรับCPG และแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ
Alcohol withdrawal พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย โดยทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น กายภาพ แผนไทย โภชนากร
เภสัชกร คลินิกฟ้าใส HHC การให้ยาผู้ป่วยในขณะมีอาการถอนพิษสุรา (Guideline for alcohol withdrawal
management) การปรับปรุงอุปกรณ์ในการผูกยึดผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการบาดเจ็บจากการผูกยึด
ทบทวนอุบัติการณ์ ประชุมร่วมกับทีมผู้เกี่ยวข้อง ส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะ Alcohol withdrawal เข้าคลินิกฟ้าใสเพื่อ
ประเมินด้านสุขภาพจิต และให้คำแนะนำในการเลิกสุราทุกราย ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเรื่องของโทษพิษภัยของ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้ข้อมูลแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สนับสนุนให้
ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
บทเรียนที่ได้รับ : การประสานความร่วมมือกันระหว่างทีมรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในช่วงที่ Admit และ Discharge
รวมทั้งการ Follow up จะส่งผลที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วยและเครือข่ายที่ดูแล
คำสำคัญ : อาการถอนพิษสุรา, การดูแลรักษา