Page 60 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 60
56
02-07 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การค้นหาปมปัญหาในจิตใจ เปรียบเทียบก่อนและหลังการอภิบาล( SMH-Modified Emotional Scale)
ผู้นำเสนอ : ปุณยนุต คนพูดเพราะ ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพ
Email : suksawat.chompoo@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ : 08 6651 2070
หน่วยงาน: โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ: ความทุกข์ใจ ความวิตกกังวล และ/หรือ ความเศร้าโศกของผู้ป่วยและญาติ เป็นเรื่อง
ของการดูแลด้านจิตใจ ที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือไปพร้อมกับด้านร่างกาย จากทีมสหวิชาชีพ โรงพยาบาลเซนต์เมรี่
จังหวัดนครราชสีมา ได้กำหนดให้มีการเยี่ยมผู้ป่วยและญาติ โดย ทีมอภิบาล ประกอบด้วย จิตตาภิบาล คณะเซอร์
พนักงานอภิบาล เป็นการเยียวยาทางด้านจิตใจ และจิตวิญญาณ สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องที่มักถูกมองข้าม ทำให้เข้าไม่ถึง
ปัญหาภายในของผู้ป่วย ส่งผลกระทบต่อการให้ความร่วมมือ การดูแลรักษา และ การหายของโรค และผลลัพธ์
จะต้องจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงจำเป็นต้องออกแบบเครื่องมือที่วัดผลในด้านความรู้สึกจากการ ได้รับการ
อภิบาลร่วมด้วย
เป้าหมาย: เพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเวชที่การดูแลตัวเองบกพร่อง
กิจกรรมการพัฒนา การใช้เครื่องมือวัดระดับอารมณ์
1) พัฒนาเครื่องมือวัดระดับอารมณ์ เป็นฉบับภาษาไทย
2) ทดลองใช้เครื่องมือวัดระดับอารมณ์ โดยให้ผู้ป่วยเลือกภาพ / คำอธิบายความรู้สึก ก่อนและหลังการ
อภิบาล
3) ทบทวน และปรับปรุงเครื่องมือ
4) ใช้เครื่องมือวัดระดับอารมณ์กับผู้ป่วย ที่ได้รับการอภิบาลทุกราย
5) แผนกอภิบาลได้ปรับปรุงเครื่องมือวัดระดับอารมณ์ของผู้รับบริการ โดยพัฒนาจาก The Abraham-Hicks
Emotional Scale ให้เป็นภาษาไทย และมีภาพที่สื่อถึงอารมณ์ โดยจัดทำเป็น SMH Emotional Scale(
ตามเอกสารแนบ1) และใช้ประเมินระดับอารมณ์ของผู้ป่วย/ญาติ ที่ได้รับการค้นหาปมปัญหาในจิตใจ
เปรียบเทียบก่อนและหลังการอภิบาล
บทเรียนที่ได้รับ : การเยี่ยมอภิบาลผู้ป่วยและญาติครั้งแรก เป็นการเยี่ยมเพื่อสร้างสัมพันธภาพ และสร้างความคุ้นเคย
จึงทำให้ไม่ทราบประเด็นปัญหาของผู้ป่วยบางรายที่จำหน่ายก่อนมีการเยี่ยมครั้งต่อไป
1) การให้คำปรึกษาผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม ยังมีข้อจำกัดในทีมอภิบาล ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญตามกลุ่มผู้ป่วย
2) พัฒนาบุคคลากรของแผนกอภิบาล ให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านการอภิบาล โดยการทบทวนและ
แบ่งปันประสบการณ์ การอภิบาลผู้ป่วย เน้นเรื่องทักษะการเพิ่มทักษะการสังเกตผู้ป่วย/ญาติ ที่มีปมปัญหา
ด้านจิตใจ
3) พัฒนากระบวนการอภิบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด โดยร่วมกับทีมพยาบาลในการส่งผู้ป่วยไปถึงหน้าห้อง
4) พัฒนาการอภิบาลในเชิงรุก ด้วยโครงการให้คำปรึกษาที่คลินิกผู้ป่วยนอก ให้บริการอภิบาลและให้คำปรึกษา
แก่ผู้ป่วย/ญาติ และพนักงาน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562