Page 62 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 62
58
02-09 Poster Presentation PCT เรื้อรัง
ชื่อเรื่อง : พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด HbA1c > 7 โดยการใช้
กระบวนการจัดการตนเอง (Self-Management)
ผู้นำเสนอ : สุพัฒน์ ลือขุนทด ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
Email : suphat.pum@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ : 09 8104 9203
หน่วยงาน : โรงพยาบาลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : โรคเบาหวานเป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรังซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ก่อให้เกิด
ผลกระทบทั้งต่อผู้ป่วยและครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถ
ควบคุมโรคได้ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา จนถึงขึ้นเสียชีวิต นอกจากนี้อาจเกิดทุพพลภาพส่งผลต่อ
คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเองรวมถึงสมาชิกในครอบครัว จากข้อมูลการรับบริการผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รพ.ขามทะเล
สอ ปี 2559 – 2562 จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน 1,377 คน, 1,407 คน, 1,466 คน และ 1,934 คน ตามลำดับ มีจำนวน
เพิ่มขึ้นทุกปี พบว่า การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด HbA1c < 7 ปี 2559 – 2561 คิดเป็นร้อยละ 29.12, 18.56
ตามลำดับ และยังพบภาวะแทรกซ้อนทางตา, ไต, เท้า และภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมอง ปี 2560 จำนวน 20
ราย คิดเป็นร้อยละ 1.42 และโรคหลอดเลือดหัวใจ ปี 2560 จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.49 ส่งผลต่อการดำเนิน
ชีวิต พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เกี่ยวข้องกับเพศ อายุ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน
พฤติกรรมการจัดการความเสี่ยงไม่เหมาะสม รวมทั้งการมีภาวะแทรกซ้อน ดังนั้น ทางทีม NCD จึงร่วมกันพัฒนา
ระบบการจัดการกิจกรรมการส่งเสริมการจัดการตนเองให้กับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ รพ.ขามทะเลสอ
เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถดูแลจัดการตนเองในการควบคุมโรคได้
กิจกรรมการพัฒนา
1. เลือกผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี HbA1c >7 จำนวน 36 คน
2. จัดกิจกรรมกลุ่มให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (3อ.,2ส.,1ย.)
3. ใช้กระบวนการสนับสนุนการจัดการตนเอง (Self-Management) ประกอบ การตั้งเป้าหมายร่วมกับผู้ป่วย
การตั้งเป้าหมายร่วมกันกับผู้ป่วย, การเฝ้าระวังตนเองโดยการติดตามระดับ FBS, การประมวลและประเมิน
ข้อมูลการเรียนรู้ของผู้ป่วยในการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การตัดสินใจที่จะจัดการตนเองโดย
การสร้างแรงจูงใจใช้ Motive Intervention, การลงมือปฏิบัติ (Action) ติดตาม 3 เดือน, 6 เดือน, การ
สะท้อนตนเอง (Self-Reaction) ประเมินตนเองว่าปฏิบัติได้ตามเป้าหมายที่กำหนดได้ดีชื่นชมและเสนอ
ทางเลือก
4. การติดตามผลระดับ FBS 3 เดือน และ 6 เดือน
5. ติดตามผลลัพธ์การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด HbA1c เปรียบเทียบก่อน – หลัง
บทเรียนที่ได้รับ : การจัดการตนเองเป็นกระบวนการในการช่วยให้ผู้ป่วยมีการจัดการตนเอง ติดตามและประเมินผล
การปฏิบัติ การเสริมแรงจูงใจให้ผู้ป่วยสามารถจัดการด้านการปรับเปลี่ยน มีพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
ผู้ป่วยต้องรับรู้ความเสี่ยงหรือปัญหาของตนเอง มีการตั้งเป้าหมายร่วมกับทีมผู้ดูแลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ส่งผลให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด HbA1c <7 ได้ แต่มีผู้ป่วยบางรายยังเข้าใจผิดเรื่องการดื่มน้ำหวาน
ผู้ป่วยยังคิดว่าไม่ดื่มเป๊ปซี่แต่ดื่มน้ำส้มได้, การรับประทานยาสมุนไพรยังเป็นความเชื่อของผู้ป่วยที่เชื่อว่าจะช่วยลด
ระดับน้ำตาลได้, การทำงานประจำแล้วมีเหงื่อออกคิดว่าเป็นการออกกำลังกายแล้ว ดังนั้น ถ้าทางทีมผู้ดูแลผู้ป่วย
เบาหวานในคลินิกมีการติดตามกระตุ้นเสริมแรงจูงใจให้อย่างสม่ำเสมอก็จะเกิดผลที่ยั่งยืน