Page 58 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 58
54
02-05 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : ใจใส่ใจแก้ไข ปัญหาซึมเศร้า
ผู้นำเสนอ : ทีร์ยาช์ มาระเทศ ตำแหน่ง : นักจิตวิทยาปฏิบัติการ
เบอร์โทรศัพท์ : 0 4475 6175 ต่อ 204
หน่วยงาน : โรงพยาบาลพระทองคำเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน ผู้ป่วยแต่ละรายจะมี
อาการแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของโรค เพศ หรืออายุ โดยอาจมีอารมณ์เศร้า หดหู่ วิตกกังวล มีความรู้สึก
ว่าตนไร้ค่า โดดเดี่ยว สิ้นหวัง หงุดหงิดง่าย ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะมีความรุนแรงและคงอยู่ยาวนานกว่าปกติ ทั้งยัง
สามารถส่งผลกระทบทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้าตลอดเวลา เจ็บปวดตามร่างกาย นอนหลับยากหรือหลับมากเกินไป
หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากสังคม ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่ได้ หมดความสนใจในเรื่องที่เคยชอบ ไปจนถึงการคิดฆ่าตัวตาย
หรือทำร้ายตัวเองได้
กิจกรรมการพัฒนา : ผู้รับบริการอายุ 15 ปีขึ้นไปจะได้รับการคัดกรองซึมเศร้าทุกราย เมื่อพบ 2Q=Positive จะได้รับ
การประเมิน 9Q และ 8Q โดยพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต หรือนักจิตวิทยา ในกรณีพบ 9Q=7 คะแนนขึ้นไป
จะได้รับคำปรึกษา โดยการเสริมแรง การจัดการกับปัญหาความเครียด และส่งพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย และรับยาต่อไป
และมีการนัดติดตามอาการหลังพบผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า ใน 7 วัน 1 เดือน และ 3 เดือน โดยเทคนิคที่ใช้ในการ
บำบัด เป็นการทำจิตบำบัดระดับต้น (Superficial Psychotherapy) ซึ่งเน้นการบำบัดเบื้องต้น 3 ลักษณะ คือ 1) จิต
บำบัดแบบประคับประคอง (Supportive psychotherapy) ซึ่งเน้นการพูดคุยและช่วยเหลือประคับประคองใน
เบื้องต้น 2) จิตบำบัดเน้นการระบายปัญหา (Superficial expressive psycho-therapy) เน้นการระบายปัญหา
ความทุกข์ ความคับข้องใจ 3) จิตบำบัดเน้นการเก็บกด (Suppressive psychotherapy) เน้นการให้เสนอแนะ เพื่อ
ลดภาวะเครียด ความวิตกกังวลและปัญหาที่ไม่ลึก ซึ่งการทำจิตบำบัด จะเน้นทำเป็นราบบุคคล (Individual
psychotherapy)
นอกจากนี้ ได้มีการจัดอบรมเรื่องการคัดกรองซึมเศร้า ให้กับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ อสม.ในอำเภอพระ
ทองคำ และมีการติดตามผู้ป่วยที่ไม่มาตามนัดโดยให้เครือข่ายเป็นผู้ติดตาม ถ้าพบผู้ป่วยมีอาการที่ผิดปกติมาก ทีมสห
วิชาชีพจะลงไปประเมินเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันที
บทเรียนที่ได้รับ : โดยผู้ป่วยซึมเศร้าควรได้รับการกระตุ้นและได้รับการช่วยเหลือ เพื่อให้ได้เห็นคุณค่าของตัวเอง
เปลี่ยนความรู้สึกและอารมณ์เพื่อให้มีกำลังใจในการเผชิญปัญหาและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
คำสำคัญ : โรคซึมเศร้า, การคัดกรอง