Page 56 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 56
52
02-03 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วย alcohol withdrawal syndrome ในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลหนองบัว
ระเหว
ผู้นำเสนอ : วรรณา บันเทิงใจ ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
E-mail: wanna.jeab0501@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ : 09 5610 8683
หน่วยงาน : โรงพยาบาลหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ
ความเป็นมาและความสำคัญ : โรงพยาบาลหนองบัวระเหวพบผู้ป่วยมีภาวะ Alcohol withdrawal มานอนโรงพยาบาล
ตั้งแต่ปี2560-2562 จำนวน 91, 101, 132 ราย ตามลำดับซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่พบได้ในผู้ป่วยที่เข้ามารับการ
รักษาด้วยภาวะโรคอื่น ๆ จากการทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วย พบว่าการดูแลไม่เป็นไปตามแนวทางเดียวกัน และ
แนวทางปฏิบัติที่มีอยู่เดิมใช้ยาก ผู้ป่วยได้รับการประเมินภาวะแทรกซ้อนทางกายและโรคร่วมทางกายไม่ครอบคลุม มี
ภาวะ Delirium tremens ในระหว่างการรักษา เกิดภาวะพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้นจากการไม่ทราบว่ามีประวัติการติด
แอลกอฮอล์ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการถอนพิษสุรารุนแรงนานเกิน 3 วัน ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานานต้องใช้อัตรากำลัง
ทางการพยาบาลอย่างมากในการดูแลเมื่อผู้ป่วยมีภาวะ agitation ญาติรู้สึกท้อแท้ในการดูแลเนื่องจากผู้ป่วยมีอาการ
สับสน
เป้าหมาย: 1.เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 2.เพื่อลดการเกิดอาการถอนพิษสุรารุนแรง
3. เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ พลัดตกหกล้ม
กิจกรรมการพัฒนา
1. ปรับแนวทางเดิม เนื่องจากใช้ยาก และสื่อสารไม่ครอบคลุม จึงปรับแนวทางการดูแลรักษา ผู้ป่วยภาวะ
AWS และ Delirium tremens เพื่อให้การดูแลรักษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยทีมที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
ในการวิเคราะห์ปัญหาการใช้แนวทาง และกำหนดแนวทางร่วมกันโดยเพิ่มเป็น Standing order ในการ
ดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่แรกรับไว้ในหอผู้ป่วยใน
2. พัฒนาความรู้ทักษะพยาบาลในหอผู้ป่วย เรื่องการให้คำปรึกษาแบบสั้น และมีแนวทางส่งให้คำปรึกษาอย่าง
ต่อเนื่อง เพื่อติดตามผลลัพธ์การเลิกสุรา
3. ลดการเกิดภาวะพลัดตกหกพลัดตกหกล้ม โดยเพิ่มการประเมินภาวะ Alcohol dependence ในผู้ป่วยที่มี
ประวัติ ดื่มสุราทุกราย
4. เพิ่มการประเมินและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางกายและโรคร่วมทางกาย ได้แก่ภาวะ electrolyte
imbalance และ Wernicke's encephalopathy โดย การประเมินอาการและเจาะ Lab , CBC
Electrolyte , Liver function test และ DTX
บทเรียนที่ได้รับ : การใช้ Standing order และการประเมิน ภาวะ Alcohol dependence ทำให้ทีมดูแลผู้ป่วย
สามารถประเมิน และดูแลรักษาผู้ป่วยได้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพิ่มขึ้น ลดอาการถอนพิษสุรารุนแรง ลดระยะเวลา
นอนโรงพยาบาล และการพลัดตกหกล้มลดลง ซึ่งบุคลากรและญาติต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโรค และยอมรับ
เกิดการวางแผนการดูแลร่วมกัน
คำสำคัญ : กลุ่มอาการถอนพิษสุรา, การดูแลรักษา