Page 55 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 55
51
02-02 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การป้องกันการเกิดภาวะดื่มน้ำมากผิดปกติ (polydipsia) ในผู้ป่วยจิตเวช
ผู้นำเสนอ : วรฉัตร ฐานวิเศษ ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพ
หน่วยงาน: โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : ภาวะดื่มน้ำมากเกินปกติในผู้ป่วยจิตเวช หมายถึง การดื่มน้ำมากกว่า 3,000 ml/วัน ร่วมกับ
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ในช่วงบ่ายและตรวจปัสสาวะพบ specific gravity (Sp.gr.) ≤ 1.008 หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ร้อย
+
ละ 5 ในช่วงบ่ายและตรวจเลือดพบ Na < 130 mEq/L อาการที่พบเริ่มต้น พบได้ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงระดับรุนแรง ขึ้นอยู่
กับการสังเกตพบได้เร็ว ความเสี่ยงเล็กน้อย มีอาการอยู่ไม่นิ่ง ก้ำกึ่งคล้ายอาการทางจิตกำเริบกับอาการไม่พึงประสงค์จากยา
ควบคุมการดื่มน้ำของตนไม่ได้ ปัสสาวะบ่อย จนกระทั่งเกิดระดับรุนแรง ภาวะน้ำเป็นพิษ (water intoxication) อาเจียน
+
สับสน ชักหมดสติ มีระดับ Na <110 mEq/L และพบอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 18.5 หอผากรอง ใน 6 เดือนแรกของ ปี
+
2562 พบจำนวนผู้ป่วยส่งต่อและรับไว้รักษาที่โรงพยาบาลมหาราชฯ (ระดับ F) ด้วยภาวะชักและ Na ต่ำ จำนวน 3 รายและ
ในจำนวนนี้มีเกิดซ้ำ จากการทบทวนแนวทางการดูแลพบว่า ทีมขาดความรู้ความเข้าใจใน การประเมินภาวะดื่มน้ำมากใน
ผู้ป่วยจิตเวชและไม่มีแนวทางการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ชัดเจน อีกทั้งยาที่ใช้รักษาควบคุม
อาการผู้ป่วยจิตเวชส่วนใหญ่อาจมีผลข้างเคียงทำให้คอแห้ง ปากแห้ง กระหายน้ำได้ ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงดื่มน้ำมากเกิน
ปกติ หากทีมมีความเข้าใจ สามารถประเมินได้เร็วลดจำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะดื่มน้ำมากได้
เป้าหมาย : ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดื่มน้ำมากในผู้ป่วยจิตเวช
กิจกรรมการพัฒนา :
1. คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและประเมินระดับความรุนแรงของความเสี่ยง โดยประเมินจากอาการและอาการแสดง
ประวัติการดื่มน้ำปัจจุบันและเคยเป็นในอดีต โรคทางกายที่เกี่ยวข้อง และยาทางจิตเวชที่ได้รับ
2. กำหนดระดับความรุนแรงและแผนการช่วยเหลือตามระดับความรุนแรง ตั้งแต่เสี่ยงเล็กน้อย เสี่ยงปานกลาง ถึง
รุนแรง
3. ปฏิบัติการดูแลช่วยเหลือตามระดับความรุนแรง
4. ประเมินซ้ำผลการดูแล ประสานเภสัชกรและแพทย์เพื่อทบทวนและติดตามผลการรักษาเป็นระยะ
บทเรียนที่ได้รับ :
1. ด้านผู้ป่วย ควรมีความรู้ความเข้าใจภาวะดื่มน้ำมากของตน ยาที่ใช้รักษาอาจเกี่ยวข้องแต่จำเป็นต้องใช้ เพื่อ
ความปลอดภัยในการใช้ยาจึงควรมีแนวทางการสังเกตตัวเองและการปฏิบัติตัวที่บ้าน
2. ด้านบุคลากรมีการพัฒนาสมรรถนะทีมการดูแล มุ่งเน้นการทำงานโดยผู้ช่วยเหลือมีความสำคัญในการสังเกต
ผู้ป่วย และระมัดระวัง การให้คำแนะนำผู้ป่วยเรื่องการดื่มน้ำมาก ๆ เป็นจิบน้ำบ่อย ๆ เพื่อลดอาการปากแห้ง
คอแห้ง
การพัฒนาต่อเนื่อง ทีมการดูแล มีความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยจิตเวชมีศักยภาพในการดูแลตัวเองและเฝ้า
ระวังภัยสุขภาพที่มาจากการรักษา และให้ข้อมูลผู้ป่วยเรื่องการดื่มน้ำอย่างถูกต้อง และผู้ป่วยมีศักยภาพผู้ป่วยในการ
ดูแลตัวเองและรู้เท่าทันและเฝ้าระวังภัยสุขภาพของตนได้
คำสำคัญ : ภาวะดื่มน้ำมากผิดปกติ, ผู้ป่วยจิตเวช