Page 64 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 64

60


               02-11  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพื่อส่งเสริมการควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               ผู้นำเสนอ : ประเทือง ธีรพัฒนพงศ์  ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

               Email : spt_tee@yahoo.com           เบอร์โทรศัพท์ : 08 4003 9409
               หน่วยงาน:  โรงพยาบาลด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ:  จากการทบทวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลด่านขุนทด พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย
               เบาหวานที่เข้ารับบริการที่คลินิกเบาหวานเฉลี่ย 150 รายต่อวัน จากข้อมูลการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน
               ที่มีระดับ HbA1C ≤7 ร้อยละ 28.29 (511/1,806) มีผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1C >7 ร้อยละ 71.71 (1,295/1,806)
               ในผู้ป่วยจำนวนนี้มีผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1C ≥10 มากถึงร้อยละ 17.28 (312/1,806) ประเด็นปัญหาที่สำคัญใน
               การดูแลผู้ป่วยเบาหวานคือ พฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยและการได้รับยาที่เหมาะสม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
               ในการรักษา เป้าหมายในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานเกินความเข้าใจ

               เกี่ยวกับโรคและการดูแลตนเอง รวมถึงสามารถออกแบบการดูแลได้อย่างเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
               กิจกรรมการพัฒนา มีการกำหนดกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องเข้าสู่กระบวนการค้นหาปัญหาและปรับพฤติกรรม โดย
               เน้นในผู้ป่วยที่มีผลการตรวจ HbA1C ≥10 แยกให้บริการใน Deep care clinic จำนวนไม่เกิน 10 รายต่อวัน โดยใช้
               6 กระบวนการหลักในการดูแล ดังนี้
                       (1)  Self report มีการบันทึกการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายใน 1 เดือนที่ผ่านมา โดยผู้ป่วย
                          รายงานตนเอง
                       (2)  Self-monitoring of blood glucose:  SMBG ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว เพื่อปรับ
                          ยาอย่างเหมาะสม

                       (3)  Disease awareness เพิ่มการรับรู้สถานการณ์ของโรค เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจความสำคัญของการปรับ
                          พฤติกรรม
                       (4)  Lifestyle รูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการรักษา
                       (5)  Medication การรักษาและปรับยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
                       (6)  Decision making ตัดสินใจปรับพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเอง
               บทเรียนที่ได้รับ : การเข้าใจถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยมีผลต่อการรักษาผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถควบคุม
               ระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายของการรักษา ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขที่ให้การดูแลผู้ป่วยควรให้ความสำคัญ
               เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานแต่ละรายมีพฤติกรรม และการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ควรเลือกการดูแลที่เหมาะสมใน
               ผู้ป่วยแต่ละราย
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69