Page 73 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 73

69


               02-20  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : สติบำบัด บำบัดโรคลดซึมเศร้า
               ผู้นำเสนอ : กุลพันธ์ เพ็ชรเพ็ง

               Email :  kunpetch.psych@gmail.com  เบอร์โทรศัพท์ : 08 4206 9233
               หน่วยงาน : ศูนย์การจัดการความรู้ด้านการดูแลพฤติกรรม และจิตสังคม โรงพยาบาลพิมาย

               ความเป็นมาและความสำคัญ:  ด้วยในปัจจุบันโรคซึมเศร้า เป็นโรคทางอารมณ์ที่พบได้บ่อย ซึ่งโรคซึมเศร้า เกิดจาก
               สารเคมีในสมองเกิดความแปรปรวน ทำให้กระบวนการความคิดผิดปกติ หากมีความรุนแรงก็จะทำให้มีความคิดทำ
               ร้ายตนเองได้ แนวทางการรักษาอาการของโรคซึมเศร้า มักให้ยาเพื่อการรักษา แต่ทว่าโรคซึมเศร้า เป็นความเจ็บป่วย
               ทางความคิด  การรักษาด้วยยาเพิ่งอย่างเดียวอาจไม่สนองตอบในการจัดการกับความคิดของผู้ป่วยได้ดีนัก เนื่องจาก
               ความซับซ้อนในกระบวนการคิด และการจัดการกับอารมณ์ จึงได้มีแนวคิดนำโปรแกรมสติบำบัด มาใช้เพื่อให้ผู้ป่วยมี
               สติมองเห็นความคิดของตน ด้วยการปล่อยวางไม่คล้อยตามความคิด มองจิตของตนด้วยอารมณ์เป็นกลาง ทำให้

               ควบคุมอารมณ์เศร้าของตนเองได้
               วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อลดภาวะซึมเศร้าซึมเศร้าในผู้ป่วย 2) ผู้ป่วยซึมเศร้าสามารถ มีสติในความรู้ และสติในความคิด
               มากขึ้น สามารถปล่อยวาง และจัดการกับความคิดและอารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               กิจกรรมการพัฒนา  พัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่มี
               ความเครียด วิตกกังวล หรือมีความคิดทำร้ายตนเอง จะได้รับคำแนะนำให้เข้าร่วมโปรแกรมสติบำบัดร่วมกับการให้ยา
               รักษา ทั้งสิ้น 8 ครั้ง ใช้เวลา 2 เดือน (สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 45 – 90 นาที) โดยจัดเป็นรายกลุ่ม หรือรายบุคคล โดย
               กิจกรรมประกอบด้วย 1. การฝึกจิต 2. การทบทวนการบ้าน 3. การเรียนรู้เรื่องใหม่ และ 4. การให้การบ้านครั้งต่อไป
               การฝึกสติบำบัดจะไปเป็นตามลำดับอย่างเป็นขั้นตอน จนสามารถนำไปจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต และสัมพันธภาพ

               ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละครั้งของการบำบัด จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างการเข้าโปรแกรมผู้ป่วยจะ
               มีระบบการเฝ้าติดตามอาการ ตลอดจนการประเมินผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินความก้าวหน้า และ
               ประสิทธิผลของโปรแกรม โดยใช้ แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) และแบบประเมินสติ Philadephia
               Mindfulness Scale (PHLMS) ในครั้งที่ 1, 4 และ 8 เมื่อจบโปรแกรมการบำบัดทั้ง 8 ครั้ง  จะมีการประเมินผลการ
               หลังการบำบัด 1, 3, 6 และ 12 เดือน โดยใช้แบบประเมินผลการเข้ากลุ่มสติบำบัด ร่วมกับแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9
               คำถาม (9Q)
               ผลการศึกษา : จากการศึกษาผลการใช้โปรแกรมสติบำบัดในผู้ป่วยจำนวน 27 ราย มีแนวโน้มของโรคซึมเศร้าดีขึ้น โดย
               พบว่า 25 ราย (คิดเป็นร้อยละ 92.59) มีภาวะซึมเศร้าลดลง เมื่อประเมินโดยใช้ แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม
               (9Q) พบว่าไม่พบภาวะซึมเศร้า และไม่มีความคิดทำร้ายตนเอง ทั้งนี้ จำนวน 27 ราย (คิดเป็นร้อยละ 100) มีสติรับรู้

               ตนเองอยู่ในระดับมาก เมื่อประเมินโดยใช้แบบประเมินสติ Philadephia Mindfulness Scale (PHLMS)
               ข้อเสนอแนะ/ ประโยชน์ : สติบำบัดเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคเครียด วิตกกังวล
               และโรคในกลุ่มNCDS ให้สามารถจัดการกับอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมได้ ซึ่งทำให้รุนแรงของโรคลดลง มีสติใน
               การดำรงชีวิตมากขึ้น ซึ่งจะมีผลลัพธ์ที่ดีกว่า การรักษาด้วยการให้ยาเพียงอย่างเดียว
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78