Page 70 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 70
66
02-17 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : ตายดีเกิดขึ้นได้ที่บ้าน
ผู้นำเสนอ : สุดารัตน์ พรมสันเทียะ ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
เบอร์โทรศัพท์ : 0 4475 6175 ต่อ 212
หน่วยงาน: โรงพยาบาลพระทองคำเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ: จากการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองโดยทีมสหวิชาชีพ ในปีงบประมาณ 2561
พบว่า ผู้ป่วยระยะประคับประคองเสียชีวิตที่บ้านจำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.90 (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ 60) ซึ่ง
จะเห็นได้ว่า ผลงานยังไม่ผ่านตามตัวชี้วัดของเขตสุขภาพที่ 9 และการกลับไปอยู่ที่บ้านในช่วงสุดท้ายของชีวิตเป็น
ความต้องการของผู้ป่วยหลายคน ทีมดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองจึงเห็นความสำคัญที่จะให้เป็นไปตามความ
ต้องการของผู้ป่วย จากการวิเคราะห์พบปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาล คือต้องทำหัตถการ ต้องใช้เครื่องมือ
อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่บ้านอาจไม่พร้อมเป็นที่ดูแล ขาดแคลนยาบรรเทาอาการไม่สุขสบาย ทำให้ผู้ป่วยทุกข์
ทรมาน และ ขาดผู้ดูแลหรือมีผู้ดูแลแต่เกิดความวิตกกังวลและความเครียดในการดูแล นอกจากนี้ทีมยังเล็งเห็น
ความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้ได้เข้ามามี
ส่วนร่วมในการดูแล เพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองที่มีคุณภาพ ประสานเชื่อมโยงเครือข่าย จึงได้
พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยระยะประคับประคองได้รับการดูแลที่ครอบคลุมทุกมิติ
ของสุขภาพอันได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ ลดความทรมานของผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ
หรือ “ตายดี”
กิจกรรมการพัฒนา : 1) จัดตั้งทีมดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคอง ที่เป็นสหวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ที่ผ่านการ
อบรม Advance course in palliative care พยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการอบรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
หลักสูตร 1 เดือน พยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบงาน Home Health care พยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบศูนย์ดูแล
ต่อเนื่อง เภสัชกร นักโภชนากร แพทย์แผนไทย และนักจิตวิทยา 2) ทีมจะออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยทุกวันพฤหัสบดี 3)
เตรียมอุปกรณ์และยาที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วย ไปให้บริการที่บ้าน 4) ศูนย์ดูแลต่อเนื่อง ให้ยืมอุปกรณ์เครื่องมือ
เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้ยืมอุปกรณ์การแพทย์กลับไปใช้ที่บ้าน 5) ลดหัตถการทางการแพทย์ที่ไม่จำเป็นในการดูแล
ผู้ป่วย ได้แก่ เจาะเลือด ใส่สายให้อาหารทางสายยาง ใส่สายสวนปัสสาวะและให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 6) มีการ
สื่อสารข้อมูลการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองต่อเนื่องโดยใช้แอปพลิเคชั่น Line 7) ส่งต่อข้อมูลในเครือข่ายบริการ
ผ่านโปรแกรม Thai COC 8) ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยระยะประคับประคองในระบบ HOSxP 9) จัดประชุมวิชาการเรื่องการ
ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง การประเมิน PPS ให้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบล เพื่อพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และ (10) มีการประเมินความพึงพอใจของ
ครอบครัวผู้ป่วย
บทเรียนที่ได้รับ: การตายที่บ้านอาจจะเป็นทางเลือกในฝันสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายจำนวนมากในปัจจุบัน เพราะ
เชื่อว่าถ้าได้ตายท่ามกลางคนที่รักและสถานที่คุ้นเคย ย่อมช่วยให้ผู้ป่วยตายดี ซึ่งการตาย “ดี” ที่บ้านจำต้องมีปัจจัย
สนับสนุนหลายปัจจัย โดยเฉพาะครอบครัวที่ต้องร่วมกันรับภาระในการดูแล และการสนับสนุนการรักษาพยาบาล
เท่าที่จำเป็นเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยทรมาน จากทีมสหวิชาชีพที่ร่วมมือกันในการดูแลผู้ป่วย