Page 80 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 80
76
03-05 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อ (IC SCREENING)
ผู้นำเสนอ : กุลธิดา คลองงาม
เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4451 3603 ต่อ 115
หน่วยงาน : หน่วยควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดสุรินทร์
ความเป็นมาและความสำคัญ : รพ.ค่ายวีรวัฒน์โยธินเป็น รพ.สังกัดกระทรวงกลาโหมขนาด 60 เตียง ให้บริการผู้ป่วย
นอก เฉลี่ย 150 - 200 รายต่อวัน และผู้ป่วยใน 5 - 7 รายต่อวัน ตั้งแต่ปี 2550 พบว่ายังไม่มี จนท.ผู้รับผิดชอบระบบการ
คัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อและห้องตรวจแยกโรคผู้ป่วยติดเชื้อที่ชัดเจน เช่น เมื่อพบผู้ป่วยแล้วซักประวัติพบว่าผู้ป่วยมาด้วย
อาการไอเรื้อรัง มีประวัติเคยเป็นวัณโรค สัมผัสวัณโรค แต่ไม่ได้ซักประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวหรือประวัติการ
เจ็บป่วยในอดีต รวมทั้งผู้ป่วยทางเดินหายใจ ผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อทางผิวหนัง ผู้ป่วยตาแดงก็ไม่ได้แยกผู้ป่วยออกจาก
ผู้ใช้บริการรายอื่นและผู้ป่วยในที่รับนอน รพ. ไม่มีห้องสำหรับแยกผู้ป่วยติดเชื้อเฉพาะจากผู้ป่วยรายอื่น จึงเสี่ยงต่อการเกิด
การแพร่กระจายเชื้อในหอผู้ป่วยได้ จากการวิเคราะห์ปัญหาข้างต้น พบว่าเกิดจากสาเหตุ ดังนี้ 1) ไม่มี จนท.ผู้รับผิดชอบ
การคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อที่ชัดเจน/ จนท.ขาดความรู้และขาดความตระหนักในการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อ 2) ขาดอุปกรณ์
ป้องกันสำหรับผู้ป่วยและจนท. 3) ไม่มีห้องตรวจแยกโรคผู้ป่วยติดเชื้อตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อทำ
ให้เสี่ยงต่อการเกิดการแพร่กระจายเชื้อใน รพ. การแก้ไขในข้อ 1 - 2 ได้ดำเนินการแก้ไขโดยจัดตั้งคณะกรรมการ IC เพื่อ
ดูแลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในรพ. ส่วนในข้อ 3 นั้น ได้แก้ไขปัญหาเบื้องต้น โดยการสร้างห้องตรวจแยกโรคผู้ป่วย
ติดเชื้อที่ OPD ไว้นอกอาคารชั่วคราว ส่วนแผนกผู้ป่วยในใช้ห้องแยกทั่วไปไม่มีห้องแยกระบบ Negative Pressure ซึ่ง
ไม่ได้มาตรฐาน IC ดังนั้น รพ. จึงได้วางแผนสร้างห้องตรวจผู้ป่วยแยกโรคผู้ป่วยนอกและใน
กิจกรรมการพัฒนา : การจัดระบบคัดกรองผู้ป่วย โดยการจัดทำแนวทางการแยกผู้ป่วยติดเชื้อที่สามารถแพร่กระจายเชื้อ
ได้ ออกเป็นสัดส่วนชัดเจนเพื่อควบคุมและแพร่กระจายเชื้อใน รพ. ดังนี้ Zone หน้าตั้งแต่ผู้ป่วย Walk in เข้ามารพ. ทาง
แผนก OPD และ ER บริการแบบ One stop service (ระบบ Fast track ให้บริการตรวจรักษาทำหัตถการ จ่ายยาและ
จำหน่าย ณ จุดบริการ) จัด จนท.คัดกรองกลุ่มโรคติดเชื้อ Air born, Droplet, Contact ให้บริการตรวจห้องแยกโรคและ
สร้างห้องตรวจแยกโรคที่ได้มาตรฐานทั้งผู้ป่วยนอกผู้ป่วยใน จัดทำป้ายแจ้งเตือนโรคติดต่อให้ผู้รับบริการเพื่อได้ติดต่อทาง
เจ้าหน้าที่ได้รวดเร็ว มีการจัดหาและสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องป้องกันร่างกาย (PPE) ให้เพียงพอและพร้อมใช้ เช่น หน้ากาก
N95 อุปกรณ์ป้องกันสำหรับโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ เช่น TB ไข้หวัดใหญ่ 2009
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ในปี 2561 พบอุบัติการณ์ ไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกัน 5 ครั้ง ไม่ได้คัดแยกผู้ป่วย
ติดเชื้อไปตรวจที่ห้องแยกโรค 3 ครั้งและพบการติดเชื้อใน รพ.1 ครั้ง (เกิดจากผู้ป่วยพลทหารที่เป็นอีสุกอีใสอยู่ห้องแยก
โรค แต่ออกมาดูทีวีร่วมกับผู้ป่วยทำให้มีผู้ป่วยพลทหารติดอีสุกอีใส 1 ราย) การดำเนินการแก้ไข มีดังนี้ : ทบทวนการ
ปฏิบัติเรื่องแนวทางการให้บริการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อสำหรับตรวจที่ห้องแยกโรค, จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันให้เพียงพอ
สำหรับผู้ป่วยและ จนท. ติดตามอุบัติการณ์การคัดกรองผิดพลาด ให้ความรู้เรื่องโรคแก่ผู้ป่วยและผู้เฝ้าเรื่องหลัก
Transmission of infection เน้นย้ำการสวมอุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ ผ้าปิดปาก - จมูก และการล้างมือบ่อย ๆ ผลการ
ดำเนินการ : หลังการปรับปรุงแก้ไขตั้งแต่เดือน ก.ค. 62 ไม่พบการแพร่กระจายการติดเชื้อใน รพ. ไม่พบการคัดกรอง
ผู้ป่วยโรคติดเชื้อผิดพลาด และไม่พบจนท.เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน
บทเรียนที่ได้รับ : การมีระบบคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อของ รพ.ที่ชัดเจน/ จนท.ที่เกี่ยวข้องทุกแผนกต้องมีความรู้ในการคัด
กรองผู้ป่วยติดเชื้อ มีการจัดบริการแบบ One Stop service ในผู้ป่วยติดเชื้อ ตั้งแต่เข้ามาใน รพ. จนกระทั่งจำหน่ายออก
จาก รพ. จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อใน รพ.ได้ และ รพ.วางแผนการสร้างห้องตรวจแยกโรคสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ OPD
และห้องผู้ป่วยแยกโรค Negative Pressure IPD ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และสุดท้ายคือการมีระบบการติดตามที่
สม่ำเสมอของ IC จะทำลดการติดเชื้อใน รพ.ได้เป็นอย่างดี
คำสำคัญ : การคัดกรองโรคติดเชื้อ, การติดเชื้อในโรงพยาบาล