Page 84 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 84
80
03-09 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : พัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบ (Development Phlebitis Prevention)
ผู้นำเสนอ : นฤมล มโนทัย
E-mail : narumil6493@ gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : -
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 1940 6493 ID line : narumil456
หน่วยงาน : โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ (Phlebitis) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับผู้ป่วยที่
ได้รับสารน้ำและ/ หรือยา มักมีอาการปวด บวม แดงร้อนและ/ หรือหลอดเลือดเป็นลำแข็ง สถิติที่ผ่านมาอัตราการ
เกิดหลอดเลือดดำอักเสบ gr. 2 ของโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ ปี 2560 – 2561 เฉลี่ย 3.5 ครั้ง/ 1000 IV Day ผลกระทบ
ต่อผู้ป่วยคือ ความปวด ผิวหนังอักเสบ ไม่สุขสบาย วิตกกังวล ในผู้ป่วยบางรายที่เกิดการอักเสบที่รุนแรง ต้องได้รับ
การรักษาเพิ่มเติม ทำให้ระยะเวลานอนรักษาใน รพ. นานขึ้น ส่งผลต่อความไม่พึงพอใจในบริการที่ได้รับ วิเคราะห์
สาเหตุการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ พบว่า เกิดจากการระคายเคืองจากยาที่ได้รับ ความเข้มข้นหรืออัตราเร็วที่ให้ไม่
เหมาะสม และอาจเกิดจากเทคนิคการให้สารน้ำที่ไม่ถูกต้องและตัวผู้ป่วยเอง สิ่งสำคัญในการป้องกันการเกิด
Phlebitis คือบุคลากรต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการประเมินและเฝ้าระวังได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว
กิจกรรมการพัฒนา :
1) ร่วมประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และพยาบาล ICN เพื่อทบทวนแนวปฏิบัติเดิมให้มี
ความครอบคลุม ค้นหากลุ่มยาที่ทำให้เกิด Phlebitis กำหนดยากลุ่มเสี่ยงที่มีความเข้มข้นอาจเกิดหลอด
เลือดดำอักเสบสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติรับทราบ กำหนดวิธีการบริหารยาที่ลดความเข้มข้นเช่น ยาฉีด
Augmentin ต้องใช้วิธี Drip และเพิ่มระยะเวลาในการ Drip ยา เช่น Ciprofloxacin เป็นต้น
2) ทบทวนแนวปฏิบัติการเปิดเส้นให้สารน้ำตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมยา การให้ยา การดูแลระหว่างให้ยาและ
การให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติ
3) ปรับแบบประเมินการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ ร่วมกับทีมสหวิชาชีพที่มีวิธีการปฏิบัติงานเหมาะสมและ
สะดวกกับผู้ปฏิบัติมากที่สุด โดยใช้ Visual Infusion phlebitis Scale (V.I.P.)
4) จัดทำปฏิทินรายการยากลุ่มเกิด Phlebitis ให้ผู้ปฏิบัติได้ประเมินชัดเจน (เอกสารแนบ 1 : ตัวอย่าง ปฏิทิน
Phlebitis)
5) จัดทำแบบทบทวน ผู้ป่วย Phlebitis ขณะอยู่ในโรงพยาบาล เพื่อการรายงานเหตุการณ์ผู้ป่วยที่เกิดหลอด
เลือดดำอักเสบ (Phlebitis) ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : จากการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยใน ตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน
2562 อัตราการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ gr. 2 เฉลี่ย 1.47 ครั้ง/ 1000 IV Day พบปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะ
หลอดเลือดดำอักเสบ จำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ ชนิดของยาปฏิชีวนะที่ได้รับ ด้านเทคนิคการบริหารยา และพยาธิสภาพ
ของผู้ป่วย
บทเรียนที่ได้รับ : สหวิชาชีพต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำแนวปฏิบัติการป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบเพื่อให้เกิดความ
ครอบคลุม พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการให้ยาและสารละลายทางหลอดเลือดดำ ดังนั้น ต้องมีการควบคุมกำกับ
ติดตามให้ทุกคนปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดอย่างต่อเนื่องและพัฒนาสมรรถนะในการประเมินเฝ้าระวังระดับความ
รุนแรงของการอักเสบของหลอดเลือดจากการให้สารน้ำได้ (Phlebitis Score ) ได้เพื่อลดความรุนแรง
คำสำคัญ : Development Phlebitis Prevention