Page 89 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 89
85
03-14 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การจัดการรายกรณีเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ผู้นำเสนอ : นันทิยา พันธ์เกษม
E-mail : pankasamebuu@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4496 9042 ต่อ 1006
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 6808 8380 ID line : -
หน่วยงาน : แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : โรงพยาบาลปักธงชัยมีอัตราการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น
เรื้อรังสูงเป็นอันดับ 3 ในเขตนครชัยบุรินทร์ นอกจากนั้นยังว่ามีอัตราการ Re – admitted ร้อยละ 13.38 Re-visit
ร้อยละ 6.35 จากการทบทวนระบบบริการคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) พบว่า การจัดบริการยังไม่เหมาะสม
กับสภาพปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งสาเหตุมาจากพฤติกรรมเสี่ยง การประกอบอาชีพที่มีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้น
และด้านจิตใจที่มาจากปัญหาครอบครัวและท้อแท้จากการเจ็บป่วย จึงปรับการดูแลเป็นการจัดการผู้ป่วยรายกรณีเพื่อ
ส่งเสริมสมรรถนะการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
กิจกรรมการพัฒนา :
1. ปรับแนวทางการดูแลให้เหมาะสม โดยปรับการการดูแลตาม level มาเป็นการดูแลตาม Group
2. ปรับระบบการค้นหาปัญหาเฉพาะรายเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของผู้ป่วย
3. ประสานแพทย์ประจำคลินิก และมีการวางแผนให้สอดคล้องกับผู้ป่วยและแผนการรักษา
5. ให้การพยาบาลโดยใช้กระบวนการเสริมสมรรถนะแห่งตนเองให้กับผู้ป่วยและครอบครัว 4 ขั้นตอน คือ 1)
ตั้งเป้าหมายการรักษา 2) ให้การปรึกษาและผู้ป่วยเลือกวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง 3) ทดลองฝึกปฏิบัติ
หรือปฏิบัติจนเกิดความมั่นใจ 4) ติดตามเยี่ยมเสริมพลังอย่างต่อเนื่อง
6. ประสานและสนับสนุนผู้ที่เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมจัดการกับตัวกระตุ้นของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ปรับ
บทบาทหน้าที่การทำงานโดยประสานกับนายจ้างถึงสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการกำเริบ ส่งเข้ารับการบำบัด
การเสพติดยาสูบ ปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานร่วมกับเพื่อนบ้านไม่ให้สัมผัสกับสิ่งกระตุ้น
7. ปรับรูปแบบการสื่อสารเป็นสมุดประจำตัวผู้ป่วยที่กำหนดข้อการประเมิน (COPD control
questionnaires) เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษาและการประเมินเพื่อแบ่งระดับความรุนแรงของผู้ป่วย
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : จากปี 2561 – 2562 พบว่า อัตราการเกิด Exacerbation ลดลง จาก
78.34 เป็น 39.09 ต่อแสนประชากร อัตราการ Re-admitted ลดลง จาก ร้อยละ 13.38 เป็น ร้อยละ 8.16 อัตรา
การ Re-admitted ลดลง จาก ร้อยละ 8.52 เป็น ร้อยละ 6.35
บทเรียนที่ได้รับ : การค้นหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ที่ตั้งอยู่บนการยอมรับและเชื่อมั่นในศักยภาพของผู้ป่วยและ
ครอบครัว รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องจะทำให้การออกแบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายที่ตรงกับปัญหาและ
ความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วย
คำสำคัญ : การจัดการรายกรณี, ส่งเสริมสมรรถนะการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง