Page 90 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 90

86


               03-15  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วย
               ผู้นำเสนอ : กิตติยา สระขุนทด        ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการแผนกหอผู้ป่วยใน

               หน่วยงาน : โรงพยาบาลเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : แผลกดทับ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อร่างกายและชีวิตของผู้ป่วย
               รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นเงินจำนวนมาก ผู้ป่วยที่นอนรับการรักษาในโรงพยาบาลและเกิดแผลกดทับขึ้น การเกิด
               แผลกดทับจะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาลภายในโรงพยาบาล เนื่องจากแผลกดทับจะพบ
               มากในผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหว ต้องนั่งหรือนอนอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานาน ๆ เพราะฉะนั้นพยาบาลที่ให้การ
               พยาบาลผู้ป่วยต้องมีความรู้ความชำนาญ ในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ในปัจจุบันโรงพยาบาลมีการให้การบริการกับผู้ป่วย
               ครอบคลุมมากขึ้น ผู้ป่วยที่มารับบริการจึงมีผู้ป่วยสูงอายุ ติดเตียง และมีโรคเรื้อรังสูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มีปัญหาในการ
               เคลื่อนไหว โอกาสเสี่ยงที่เกิดแผลกดทับได้ง่าย ทำให้อัตราการเกิดแผลกดทับสูงขึ้น จากการสำรวจพบอัตราการเกิดแผล
               กดทับดังนี้ ปี 60 5 รายเท่ากับ ร้อยละ 2.81 ปี 61 2 ราย ร้อยละ 0.58 ความชุกของการเกิดแผลกดทับปี 60 - 61 เท่ากับ
               0.7 และ 0.15 ตามลับดับ พบสาเหตุของการเกิดแผลกดทับดังนี้ 1) หอผู้ป่วยยังไม่มีแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันและ
               เฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับที่มีประสิทธิภาพ 2) หอผู้ป่วยไม่มีแบบประเมินความเสี่ยงแผลกดทับภายในโรงพยาบาล 3)
               ผู้ปฏิบัติงานยังขาดประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องแผลกดทับ 4) จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอกับการให้บริการ
               ผู้ป่วย
               เป้าหมาย :

                    1.  อัตราการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยในโรงพยาบาล น้อยกว่า 1 ต่อ 1000 วันนอน
                    2.  อัตราความชุกแผลกดทับของผู้ป่วยในโรงพยาบาล น้อยกว่า 1 ต่อ 100 วันนอน
                    3.  ให้การป้องกันแผลกดทับเป็นการปฏิบัติที่มีพื้นฐานอยู่บนความรู้เชิงประจักษ์

                    4.  มีแนวทางในการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วย
                    5.  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพจากหลักฐานที่สามารถยืนยันเชิงวิทยาศาสตร์ได้
               กิจกรรมการพัฒนา :
                    1.  จัดประชุมหน่วยงานเพื่อระดมความคิดการทำแบบประเมินแผลกดทับใช้วงจรคุณภาพ PDCA

                    2.  ทบทวนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์
                    3.  มีการจัดทำแบบประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ โดยใช้แบบประเมินของ Braden Scale และแบ่งระดับ
                    4.  จัดทำคู่มือการให้คะแนนในการประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ
                    5.  จัดประชุมเรื่องการการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับ พร้อมทั้งชี้แจงการใช้แบบประเมินความเสี่ยง
                        แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน
                    6.  จัดทำแนวทางในการปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับโดยทำตารางการพลิกตะแคง และนาฬิกาเปลี่ยนท่า
                        เพื่อพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง ในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
                                                 2560            2561          2562 (1 ต.ค.61-30 มิ.ย.62)


                     อัตราการเกิดแผลกดทับ         2.81           0.58                   0.54

                  ความชุกของการเกิดแผลกดทับ       0.7            0.15                   0.22
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95