Page 95 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 95

91


               03-20  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การใช้รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้เพื่อลดความเสี่ยงทางคลินิก
               ผู้นำเสนอ : สุทัศนีย์ แสนท้าว       ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

               E-mail : santawn@hotmail.com        เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4489 7022 ต่อ 113
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 1660 5409
               หน่วยงาน : หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ

               ความเป็นมาและความสำคัญ : ผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาการทำงานของอวัยวะหลายระบบล้มเหลว การ
               เจ็บป่วยคุกคามชีวิต ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผู้ป่วยผ่านพ้นระยะวิกฤติ การจัดระบบบริการของ
               หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองบัวระเหวเดิมเป็นแบบการทำงานเป็นหน้าที่ (Functional nursing) และ
               มีการปรับเปลี่ยนการจัดบริการแบบรายบุคคล (Case method) โดยพยาบาลวิชาชีพ 1 คนจะดูแลผู้ป่วยโดยการ
               หมุนเวียนกันดูแลผู้ป่วยไม่ได้ดูแลผู้ป่วยคนเดิม และพบว่าลักษณะการทำงานส่วนใหญ่ยังเป็นแบบ Functional

               nursing การมอบหมายงานยังไม่เหมาะสมขาดการวางแผนการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง จากการทบทวนข้อมูลความ
               เสี่ยงทางคลินิกผู้ป่วยเสียชีวิตไม่คาดฝันพบว่าปี 2559 - 2560 มีจำนวน 4, 3 รายตามลำดับ ผู้ป่วยที่ส่ง Admit แล้วมี
               อาการทรุดลงภายใน 1 ชม.ปี 2559 – 2560 = ร้อยละ 0.77, 0.94 ตามลำดับ และผู้ป่วย Re-visit ปี 2559 - 2560
               = ร้อยละ 1.15, 1.85 ตามลำดับ หน่วยงานจึงได้มีการพัฒนาระบบการดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้มาใช้ในการดูแล
               ผู้ป่วยในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของผู้ป่วยและพยาบาลผู้ปฏิบัติงาน
               วัตถุประสงค์ : เพื่อลดความเสี่ยงทางคลินิกในหน่วยงานได้แก่อัตราการเสียชีวิตไม่คาดฝัน อัตราผู้ป่วยส่ง Admit ที่มี
               อาการทรุดลงภายใน 1 ชม.และอัตราผู้ป่วยที่ Re-visit
               กิจกรรมการพัฒนา : เริ่มมีการพัฒนาระบบการดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้ตั้งแต่ปี 2561 โดยนำมาทำเป็นแผน

               action plan ของหน่วยงาน ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง จนถึงปัจจุบันซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน
               ดังนี้ 1) จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบพยาบาลเจ้าของไข้ 2) จัดทำแบบประเมินการปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาล
               เจ้าของไข้ 3) จัดทำ KPI หน่วยงานให้เชื่อมกับแนวทางแนวทางการดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้ 4) สื่อสารแนวทาง
               การดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้แก่บุคลากรในหน่วยงาน 5) สื่อสารระบบแนวทางการดูแลแบบพยาบาลเจ้าของไข้แก่
               ทีมสหวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยร่วมกับหน่วยงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน 6) นิเทศกำกับติดตามและสรุปผลการดำเนินงานทุก 1
               เดือน และสะท้อนข้อมูลให้บุคลากรในหน่วยงานทราบ
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : 1) ผู้ป่วยเสียชีวิตไม่คาดฝันมีแนวโน้มลดลงปี 2561 - 2562 = 2, 2 ราย
               ตามลำดับ ผู้ป่วยที่ส่ง Admit แล้วมีอาการทรุดลงภายใน 1 ชม.ลดลงปี 2561 – 2562 = ร้อยละ 0.35, 0.23 และ
               ผู้ป่วย Re-visit ปี 2561 - 2562 = ร้อยละ 0.81, 0.95 ตามลำดับ 2) ผู้รับบริการพึงพอใจไม่เกิดข้อร้องเรียน 3) เกิด

               นวัตกรรมเครื่องมือที่หน่วยงานนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยซึ่งผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ
               บทเรียนที่ได้รับ : การวางแผนการทำงานร่วมกับทีมและการนิเทศกำกับติดตามที่ต่อเนื่อง ทำให้สามารถตอบ
               เป้าหมายของงานได้และสามารถพัฒนาสมรรถนะพยาบาลฉุกเฉินร่วมกับการนิเทศงานระบบพยาบาลเจ้าของไข้ควบคู่
               กันไปได้
               คำสำคัญ : พยาบาลเจ้าของไข้, กระบวนการพยาบาล, ความเสี่ยงทางคลินิก
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100