Page 92 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 92
88
03-17 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาลดกดทับ กันแผลเพิ่ม
ผู้นำเสนอ : เบญจวรรณ จันลาวงศ์ และคณะ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง
E-mail : benooy.2505@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4439 5000 ต่อ 1118
หน่วยงาน : หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพที่สำคัญ ซึ่งมักส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยได้รับ
ความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด รวมทั้งเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลมากขึ้น มักพบใน
ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว เกิดแผลกดทับได้
ง่าย ได้มีการศึกษาการสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาล (Clinical nursing practice guideline: CNPG) เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการพยาบาลดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ (รุ่งทิวา ชอบชื่น, 2556) การส่งเสริมให้บุคลากรที่ดูแลมีความรู้
ความเข้าใจถึงสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง กลไกการเกิดแผลกดทับ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อสามารถนำไปสู่การ
ปฏิบัติในการป้องกันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและยังเป็นข้อหนึ่งของสมรรถนะพยาบาลในการป้องกันแผลกดทับอีก
ด้วย (กอบแก้ว ซื่อตรง และคณะ, 2558) โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา มีจำนวนผู้ป่วยที่ติดเตียงและมีแผลกดทับ
เพิ่มมากขึ้นประมาณร้อยละ 69 จากการเก็บข้อมูลของหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง พบว่าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ถึง
กันยายน 2561 มีจำนวนผู้ป่วยเป็นแผลกดทับเพิ่มขึ้นทั้งหมด 25 ราย จากการเก็บข้อมูล พบว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ปฏิบัติ
ตามแนวทางอย่างครบถ้วน เช่น ไม่พลิกตะแคงตัว ไม่ได้นอนเตียงลดแรงกดทับ ทำแผลโดยไม่ถูกต้อง เป็นต้น ดังนั้นผู้
ศึกษา จึงสนใจที่จะพัฒนาการป้องกันและการดูแลเพื่อลดกดทับ กันแผลเพิ่ม โดยใช้ 5 ข้อหลักดังนี้ 1. การลดแรงกด
และการป้องกันการเสียดสี 2. การดูแลผิวหนัง 3. ภาวะโภชนาการ 4. การกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต 5. การให้
ความรู้ การพัฒนาดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ในการป้องกันและการดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพสามารถลด
การเกิดแผลกดทับรายใหม่หรือลดการเพิ่มแผลกดทับและเกิดความพึงพอใจของผู้นำไปใช้ทั้งบุคลากรด้านการ
พยาบาลและญาติผู้ป่วยด้วย
กิจกรรมการพัฒนา : 1) วิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยจำนวนผู้ป่วยแผลกดทับรายใหม่และรายเก่าเพิ่มขึ้น 2) วางแผนพัฒนา
กิจกรรมคุณภาพ โดยใช้วงล้อ CQI 3) ประชุมทีมงานและหน่วยงานผู้ป่วยในเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ นำแนวทางตาม
Flow Chart การป้องกันและดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงเกิดแผลกดทับรายใหม่หรือเพิ่ม โดยใช้แนวทางปฏิบัติ 5 ขั้นตอน
4) ติดตามผลปฏิบัติโดยมีแบบบันทึกรายวัน/ รายเดือน ให้ทุกหน่วยงานรายงานผลและโอกาสพัฒนา
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : จากการดำเนินงาน พบว่า CQI รอบที่ 1 ระยะเวลา 1 ต.ค. 61 – 31 ธ.ค.
61 มีผู้ป่วยที่ไม่มีแผลกดทับและมีแผลกดทับเดิมเพิ่มจำนวนมากขึ้น อยู่ที่ 33.89% ไม่ผ่านเป้าหมายที่กำหนด จึงได้มี
CQI รอบที่ 2 ระยะเวลา 1 ม.ค. 62 - 31 มี.ค. 62 ได้มีการปรับความชัดเจนของการปฏิบัติปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วย พร้อมรายงานผลและหาแนวทางแก้ไขเป็นรายวันและมีระบบ Morning talk ทุก
วันและควบคุมติดตามทุกเดือนโดยหัวหน้างานและผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด ทำให้ผู้ป่วยที่ไม่มีแผลกดทับและมีแผลกดทับ
ลดลง เป็น 0%
บทเรียนที่ได้รับ : 1) ควรเน้นย้ำแนวทางปฏิบัติ ในเรื่องการป้องกันและดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงเกิดแผลกดทับรายใหม่หรือ
เพิ่มเป็นแนวทางเดียวกันทุกคน 2) ควรเน้นเป็นงานประจำ ที่ต้องทำ ทั้งการติดตาม นิเทศ การสุ่มพฤติกรรมการ
ปฏิบัติตามแนวทาง ติดตามผลวิเคราะห์ผลลัพธ์ เพื่อให้เป็นวัฒนธรรม
คำสำคัญ : แผลกดทับ