Page 88 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 88
84
03-13 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ผู้นำเสนอ : วิไลวรรณ แดบสูงเนิน
เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4437 6571
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 1930 6760
หน่วยงาน : โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : ภาวะพลัดตกหกล้มในโรงพยาบาล เป็นปัญหาส าคัญและพบได้บ่อยในผู้สูงอายุซึ่ง
ผลกระทบนอกจากจะน าไปสู่ความเจ็บป่วย ภาวะทุพพลภาพหรืออันตรายต่อชีวิตได้ รวมทั้งเป็นภาระต่อญาติผู้ดูแล
และสังคมส่วนรวม ทั้งนี้เกิดจากความชราเองและโรคร้ายแรงต่าง ๆ ถ้าไม่ได้รับการประเมินความเสี่ยงและป้องกัน
อย่างเหมาะสม ย่อมเป็นสิ่งคุกคามต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต (แนวทางเวชปฏิบัติการปองกันและประเมินภาวะหก
ล้มในผู้สูงอายุ, 2551) รวมถึงค่ารักษาขณะอยู่ในโรงพยาบาล เป็นต้น (Chi, 2008) จากการศึกษาอุบัติการณ์การพลัด
ตกหกล้มโดยการทบทวนเวชระเบียนตั้งแต่เดือน พ.ย.2557 – ม.ค.2562 พบว่ามีผู้ป่วยที่เกิดอุบัติการณ์จ านวน
ทั้งหมด 46 ราย เป็นผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีร้อยละ 65.22 และที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปีร้อยละ 34.78 เมื่อจ าแนก
ตามเพศ พบว่าเป็นเพศชาย ร้อยละ 63.04 และเป็นเพศหญิง ร้อยละ 36.96 สอดคล้องกับภาวะโรคที่เป็น ได้แก่ โรค
ทางอายุรกรรมร้อยละ 66.66 เป็นผู้ป่วยหลังการผ่าตัดร้อยละ 33.33 เป็นผู้ป่วยที่มีญาติเฝ้าร้อยละ 63.17 และไม่มี
ญาติเฝ้าร้อยละ 21.05 และยังพบอุบัติการณ์ในญาติผู้ป่วย ร้อยละ 15.78 ดังนั้นทางกลุ่มการพยาบาลจึงได้จัดท าแนว
ทางการปฏิบัติในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยในโรงพยาบาลขึ้นเพื่อลดและป้องกันการเกิดอุบัติการณ์การ
พลัดตกหกล้ม อันจะน าไปสู่ความเสียหายทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม 2) เพื่อลดอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มของผู้ป่วย
กิจกรรมการพัฒนา : 1) ใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม Hendrich II 2) ติดป้ายสัญลักษณ์ที่หัวเตียง
ผู้ป่วยเพื่อระบุผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและติดชาร์จสื่อสารระหว่างแผนก 3) จัดให้มีเจ้าหน้าที่เข้าไปอยู่
ประจำในล็อคเตียงผู้ป่วย ล็อคละ 1 คน ทุกเวร (Cell concept) คอยสังเกตอาการ, ความผิดปกติต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ป่วย
และญาติได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว 4) ประชุมทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นตามกระบวนการที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย
ทุกเดือน
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ในเดือน ม.ค. 2562 – ส.ค. 2562 พบว่า มีอุบัติการณ์ผู้ป่วยพลัดตกหกล้ม
8 ราย
บทเรียนที่ได้รับ : 1) การใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม Hendrich II สามารถใช้ประเมินผู้ป่วยได้
ละเอียดกว่าแบบประเมิน fall scale ที่ รพ. ใช้อยู่ในปัจจุบัน 2) การติดป้ายที่หัวเตียงผู้ป่วยช่วยเตือนเจ้าหน้าที่และ
ญาติผู้ป่วยช่วยสังเกตและเฝ้าระวังการตกเตียงของผู้ป่วยได้ 3) การดูแลผู้ป่วยแบบ Cell concept มีข้อจำกัดคือ
เจ้าหน้าที่ไม่สามารถนั่งอยู่ในล็อคผู้ป่วยได้ตลอดเวลา ต้องทำงานหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย, ในล็อคผู้ป่วยคับแคบ
ผู้ป่วยแต่ละเตียงมีญาติและผู้มาเยี่ยมตลอดทั้งวัน บริเวณที่จัดไว้ให้เจ้าหน้าที่มีพื้นที่จำกัดทำงานไม่สะดวก, ระหว่าง
เตียงของผู้ป่วยมีผนังกั้นและเวลากลางคืนผู้ป่วยจะกั้นม่านเพื่อนอนพักผ่อน เจ้าหน้าที่ไม่สามารถมองเห็นความ
ผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้
การขยายแผนพัฒนาคุณภาพ : พัฒนาการดูแลผู้ป่วยรูปแบบ Nursing Cell Concept
คำสำคัญ : Hendrich II, Cell concept, Fall