Page 83 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 83
79
03-08 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : IV Safety care
ผู้นำเสนอ : กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์
E-mail : ksawasrak@yahoo.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4483 7100 ต่อ 2404
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 9624 6422 ID line : pook102511
หน่วยงาน : โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
ความเป็นมาและความสำคัญ : ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ จำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอด
เลือด เพื่อให้ยาและสารละลายต่าง ๆ ตามแผนการรักษา ขณะเดียวกันการให้สารน้ำทางหลอดเลือดก็เป็นช่องทางให้
เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งเป็นอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ก่อให้เกิดความทุกข์
ทรมานแก่ผู้ป่วย อาจนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และยังเป็นสาเหตุสำคัญของการฟ้องร้อง
สถานพยาบาลอีกด้วย นอกจากนี้พยาบาลผู้ให้สารน้ำก็ยังเกิดความเสี่ยงจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำด้วย
เช่นกัน ได้แก่ การถูกเข็มทิ่มตำหรือเลือดกระเด็นเข้าตา ความเสี่ยงเหล่านี้ส่งผลกระทบทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการ การ
ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำอย่างปลอดภัย พยาบาลผู้ปฏิบัติต้องมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการ
ปฏิบัติตามมาตรฐาน เพื่อการดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ
กิจกรรมการพัฒนา : ระหว่างเดือน เมษายน - กันยายน 2562
1. อบรมให้ความรู้แก่ทีม เรื่อง “การพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย”และขยายผลสู่
พยาบาลผู้ปฏิบัติอีก 4 รุ่น จากนั้นประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม
2. ชี้แจงแนวปฏิบัติเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ติดตามนิเทศหัวหน้า Ward และ
พยาบาล จากนั้นประเมินการปฏิบัติ
3. คิดวิธีการทำความสะอาดผิวหนังผู้ป่วยก่อนการแทงเข็มให้ IV ที่มารับบริการที่ ER จัดเตรียมอุปกรณ์
เพิ่มเติม สอนวิธีปฏิบัติ และประเมินการปฏิบัติ
4. จัดประกวดรถทำ Treatment ให้มีความสะอาด เหมาะสมต่อการใช้งาน ปลอดภัยต่อบุคลากร
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
1. คะแนนความรู้ของพยาบาลในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (ได้มากกว่าหรือเท่ากับ 7 เต็ม
10) เพิ่มขึ้นจาก 61.4 % เป็น 88.9 % (เพิ่มขึ้น 27.5 %)
2. อัตราการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ส่วนปลายถูกต้องเพิ่มขึ้น จาก 71.2 % เป็น 92.3 % (เพิ่มขึ้น 21.1 %)
3. อัตราการทำความสะอาดผิวหนังก่อนให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายที่ถูกต้อง 86.1%
4. อุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุของมีคมทิ่มตำในขณะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายลดลงจาก
ปีงบประมาณ 2561 จำนวน 7 ครั้ง เหลือจำนวน 3 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2562 (ลดลง 57.1%)
5. มีต้นแบบรถหัตถการที่เหมาะสม 5 แบบ แยกตามลักษณะหอผู้ป่วย
บทเรียนที่ได้รับ :
1. การแบ่งทีมทำงาน ทำให้เห็นศักยภาพของทีมและงานประสบความสำเร็จได้พร้อมกันหลายเรื่อง
2. การกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการทำงานและมีการติดตามต่อเนื่อง ทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย
คำสำคัญ : IV care, IV safety care