Page 87 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 87
83
03-12 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : ทุกคนปลอดภัย มั่นใจ ไม่พลัดตก หกล้ม Saint Mary’s Hospital Fall Risk Model
ผู้นำเสนอ : รัตนพร สุขเรืองกูล
E-mail : Oangca_Pa@hotmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4424 0240
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 5771 6639 ID line : pata2017
หน่วยงาน : โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ ได้ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยทุกประเภทและทุกวัย ซึ่งกลุ่มที่มี
ความเสี่ยงที่จะเกิดพลัดตกหกล้มมากที่สุดคือผู้ป่วยเด็กและผู้สูงอายุ สถิติปี 2559 – 2560 การเกิดพลัดตกหกล้ม
แผนกผู้ป่วยใน มีจำนวน 9 ครั้ง และปี 2561 จำนวน 10 ครั้ง พบอุบัติการณ์ทั้งแผนกผู้ป่วยในและแผนกผู้ป่วยนอก
เมื่อเกิดอุบัติการณ์ขึ้น ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงอันตรายรุนแรง ทำให้ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
นาน เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง จากการวิเคราะห์สาเหตุ พบว่า เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง
ต่อการเกิดพลัดตกหกล้ม ยังไม่ครอบคลุมทุกช่วงวัยและกิจกรรมการพยาบาลที่ต้องปฏิบัติในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง
สูงไม่แตกต่างกับผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ การให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติ เพื่อเฝ้าระวังพลัดตกหกล้มไม่ต่อเนื่อง เดิมการเฝ้าระวัง
พลัดตกหกล้มเน้นเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยใน ไม่มีแนวปฏิบัติการป้องกันพลัดตกหกล้ม ในกลุ่มผู้ป่วยนอกและพนักงานทุกคน
ภายในโรงพยาบาลต้องมีส่วนช่วยในการเฝ้าระวังพลัดตกหกล้ม ฝ่ายการพยาบาลร่วมกับ RMC และ ทีม PCT ได้
ทบทวนหาวิธีป้องกัน แก้ไขให้ครอบคลุม
กิจกรรมการพัฒนา :
1) ปรับแบบประเมินความเสี่ยงพลัดตกหกล้มเดิม โดยใช้เกณฑ์ Hendrich for Risk Model ร่วมกับแบบ
ประเมินความเสี่ยง Morse fall scale มาเป็นแบบประเมินความเสี่ยง Saint Mary’s Hospital Fall Risk
Model ที่ครอบคลุมเรื่องเกณฑ์การประเมินช่วงอายุและอุปกรณ์ เครื่องมือที่ติดตัวผู้ป่วย แยกเป็นแบบ
ประเมินกลุ่มผู้ป่วยในและกลุ่มผู้ป่วยนอกและกำหนดกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสมตามความเสี่ยงของ
ผู้ป่วย
2) จัดทำสื่อโดยใช้ป้ายเตือนเฝ้าระวังพลัดตกหกล้ม มีสีสันและขนาดตัวหนังสือสะดุดตา มองเห็นชัดเจนและ
ขยายผลติดทุกจุดบริการภายในโรงพยาบาล จัดทำสัญลักษณ์ป้ายสื่อสารระหว่างการเคลื่อนย้ายให้
หน่วยงานและทีมสุขภาพทุกคน เฝ้าระวังผู้ป่วยพลัดตกหกล้ม
3) จัดหาอุปกรณ์การป้องกันพลัดตกหกล้มให้เพียงพอต่อการใช้งานและพร้อมใช้อยู่เสมอ เช่น ไม้กั้นเตียง
ราวจับภายในห้องน้ำ สีที่แสดงให้เห็นพื้นต่างระดับ ข้อความแจ้งกดออดขอความช่วยเหลือภายในห้องน้ำ
และร่วมกับคณะกรรมการทรัพยากรบุคคล จัดอบรมให้ความรู้พนักงานทุกคนภายในโรงพยาบาลในการ
ปฏิบัติการเฝ้าระวังพลัดตกหกล้มและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ถูกต้อง
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : จากการปรับแนวปฏิบัติใหม่พนักงานทุกคนในโรงพยาบาล มีความเข้าใจ
และปฏิบัติการป้องกันพลัดตกหกล้มได้ดีขึ้น มีความกระตือรือร้นในการที่จะค้นหาความเสี่ยงและป้องกันร่วมกัน เช่น
การสำรวจอุปกรณ์ภายในหน่วยงานของตนเอง จัดหาเก้าอี้นั่งที่เหมาะสมในการนั่งทำหัตถการในห้องหยอดยาตา ห้อง
เจาะเลือด เป็นต้น ทุกจุดบริการที่มีการส่งต่อผู้ป่วยมีการเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อเนื่องสถิติพลัดตกหกล้ม ปี 2562
เดือนมกราคม – พฤษภาคม จำนวน 3 ครั้ง เดือนมิถุนายน – กันยายน ไม่พบอุบัติการณ์พลัดตกหกล้ม
บทเรียนที่ได้รับ : เมื่อเกิดอุบัติการณ์พลัดตกหกล้ม ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมาทบทวนเชิงลึก (RCA) ร่วมกันเพื่อจะได้
ทบทวนแนวปฏิบัติให้มีความครอบคลุมในการป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น ควรมีการประเมินความรู้ผู้ใช้แบบประเมิน
พร้อมทั้งให้ความรู้เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง
คำสำคัญ : Saint Mary’s Hospital Fall Risk Model