Page 91 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 91
87
03-16 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วย ตึกผู้ป่วยในโรงพยาบาลบัวลาย
ผู้นำเสนอ : กมลชนก พงพันนา
E-mail : Khwanidea@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4430 0772
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 8584 3203
หน่วยงาน : โรงพยาบาลบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : จากการทบทวนมีผู้ป่วยทรุดลง ตึกผู้ป่วยใน ในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 3 ราย พบว่า
เป็นกลุ่มโรค 1. Alcohol withdrawal 2. Pneumonia 3. UTI พบว่าสาเหตุเกิดจากกระบวนการดูแลผู้ป่วย ขั้นตอน
Assessment และ Reassess ตึกผู้ป่วยในจึงได้พัฒนากระบวนการการประเมินผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือ Modified
Early warning signs มาใช้ ยังพบมีปัญหาเกี่ยวกับ การรายงานไม่ได้ประเด็นสำคัญกับสถานการณ์หรืออาการผู้ป่วย
จึงได้นำหลัก ISBAR มาใช้ในการรายงานแพทย์ ยังพบปัญหาในการดูแลผู้ป่วย ในกระบวนการ Nursing Care จึงได้มี
การพัฒนา Warning signs รายโรคมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย จากการทบทวนพบผู้ป่วยกลุ่ม โรค Pneumonia Admit
จำนวน 84 ราย และผู้ป่วย Pneumonia ปี 2561 Refer at Ward (Respiratory failure) จำนวน 5 ราย และจาก
การทบทวนผู้ป่วยกลุ่ม Sepsis พบว่า ผู้ป่วยกลุ่ม Sepsis ที่ Admit ที่ยังไม่เกิดภาวะ Shock ที่ ER ย้ายเข้ามา IPD
แล้วเกิดภาวะ Shock และได้ Refer (จำนวน 3 ราย) จึงได้มีการพัฒนา Warning signs รายโรค Pneumonia และ
Sepsis มาใช้ในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง สามารถช่วยให้ผู้ป่วยพ้น
ภาวะวิกฤติและปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิตได้
กิจกรรมการพัฒนา : ระยะที่ 1 (ต.ค 60 - มี.ค. 61): 1) นำเอา Modified Early Warning Signs มาใช้ในการ
ประเมินการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะทรุดลง 2) ประเมินความถูกต้องของการให้คะแนน Modified Early
Warning Signs โดยผู้ชำนาญกว่าคือแพทย์ 3) ตรวจสอบการลงคะแนน จากการทบทวนจากเวชระเบียนผู้ป่วย
ระยะที่ 2 (เม.ย 61 - ก.ย.61) : นำหลัก SBAR มาใช้ในการรายงานแพทย์เมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมการ
พัฒนาระยะที่ 3 (ต.ค. 61 - ก.ย 62) 1) พัฒนาระบบกำหนดแนวทางปฏิบัติประเมินผู้ป่วยโรค Pneumonia กำหนด
Early Warning Sign to Respiratory Failure พัฒนา Early warning sign to Pre Arrest sign 2) พัฒนาระบบ
กำหนดแนวทางปฏิบัติประเมินผู้ป่วย Sepsis กำหนด Early warning sign to Septic Shock
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : 1) การลงคะแนนโดยใช้ Modified Early warning signs คิดเป็นร้อย
91.83 ละ (ปี61) คิดเป็นร้อย 100 (ปี62) 2) การรายงานแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 87.50 (ปี61) คิดเป็นร้อยละ 96.87
(ปี62) 3) การแก้ไขก่อนภาวะทรุดลง คิดเป็นร้อยละ 80 (ปี61) คิดเป็นร้อย 100 (ปี62) 4) ภาวะที่ทรุดลงและต้อง
Refer คิดเป็นร้อยละ 4.08 (ปี61) คิดเป็นร้อย 3.12 (ปี62) มีการนำหลัก ISBAR มาใช้ในการรายงานแพทย์ เป็น
แนวทางเดียว 100%-สิ่งที่ต้องปรับปรุงและพัฒนา บางครั้งยังประเมินผู้ป่วยยังไม่ครอบคลุมทุกระบบ ก่อนรายงาน
แพทย์และยังขาดตรงประเด็นRecommendation การพัฒนา warning sign Pneumonia (22 ราย) ร้อยละการ
ประเมินซ้ำใน IPD =100 ร้อยละการเกิดภาวะ Respiratory failure =13.63 การพัฒนา Warning sign Sepsis
(7ราย) ร้อยละการได้รับ ATB ภายใน 1 ชั่วโมง= 90.90 ร้อยละการประเมินซ้ำที่ IPD คิดเป็นร้อยละ 85.71 ร้อยละ
การเกิด Septic Shock คิดเป็นร้อยละ 14.28
บทเรียนที่ได้รับ : นอกจากการใช้ MEWS และ Warning sign รายโรคในการประเมินผู้ป่วยควรให้ความสำคัญกับ
ความรู้สึกไม่สบายใจหรืออาการของผู้ป่วย จะสามารถช่วยให้เราบ่งชี้อาการผิดปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ที่ไม่พึง
ประสงค์เกิดขึ้นได้
คำสำคัญ : Modified Early warning signs