Page 85 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 85

81


               03-10  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : นาฬิกาพาพลิก พิชิตแผล Bed Sore
               ผู้นำเสนอ : อริสรา แจ่มใส    ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพ

               E-mail : arissara.zt@gmail.com      เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4432 9234 ต่อ 120
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 2150 5419   ID line : catoon-arissara
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลสีดา จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย โดยเฉพาะในผู้ป่วย Bed ridden status
               จากข้อมูลงานผู้ป่วยใน ตุลาคม 2561- มีนาคม 2562 พบผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 47 ราย วันนอนเฉลี่ย 8.1 วัน มีแผลกดทับ
               มาจากบ้าน 14 ราย และเกิดแผลกดทับในโรงพยาบาล 2 ราย ยังไม่มีแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันและเฝ้าระวัง
               การเกิดแผลกดทับ ยังไม่มีการใช้แบบประเมินความเสี่ยงแผลกดทับ เตียงลมไม่เพียงพอกับการให้บริการผู้ป่วย รวมทั้ง
               การมอบหมายและติดตามการปฏิบัติงานยังไม่ชัดเจน อาจเกิดแผลกดทับที่เกิดใหม่หรือรุนแรงมากขึ้น ทำให้

               ระยะเวลาในการนอนรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น และประเด็นที่สำคัญเป็น Clinical risk ที่บ่งชี้ถึงคุณภาพของการ
               ดูแลผู้ป่วยด้านความปลอดภัย
               กิจกรรมการพัฒนา :
                       วิเคราะห์ปัญหาการเกิดแผลกดทับร่วมกัน ฟื้นฟูความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ จัดทำ Flow chart การเฝ้า
               ระวังป้องกันแผลกดทับ ใช้แบบประเมิน Braden Scale ในผู้ป่วยแรกรับทุกราย หากประเมินได้คะแนน ≤ 16
               คะแนน จะนำ Flow chart แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลแผลกดทับมาใช้กับผู้ป่วยในรายนั้น ๆ พร้อมทั้งมี
               การชี้แจงการใช้แบบประเมินความเสี่ยงแก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน
                       คิดค้นนวัตกรรม โดยจัดทำ นาฬิกาพาพลิกตะแคงตัว และป้ายเตือน “พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชม.”นำไปติดไว้

               ที่เตียงผู้ป่วย จัดทำตารางบันทึกการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย มอบหมายงานประจำวันให้การพยาบาลพลิกตะแคงตัว
               คนไข้ตามเข็มนาฬิกา หรือให้ญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลช่วยพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย โดยมีหัวหน้าเวรควบคุม
               ติดตามการปฏิบัติงานตามแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :

                                        ตัวชี้วัด                      เม.ย  พ.ค.  มิ.ย.  ก.ค.  ส.ค.  ก.ย.

                 อัตราการเกิดแผลกดทับระหว่างนอนโรงพยาบาล               0     0     0     0    0     0

                 อัตราการเกิดแผลกดทับระดับรุนแรงขึ้น                   0     0     0     0    0     0



               บทเรียนที่ได้รับ :
                    1.  การป้องกันการเกิดแผลกดทับมีความจำเป็นและสำคัญ การเกิดแผลกดทับแล้วจะทำให้มีผลกระทบต่อ
                        คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจของผู้ป่วยและครอบครัว

                    2.  การปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ต้องมีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล เป็นลำดับขั้น
                    3.  การให้ความรู้และเสริมพลัง Care giver ในการดูแลผู้ป่วยจะสามารถช่วยลดการ Readmitted ในกลุ่ม
                        ผู้ป่วยแผลกดทับได้ นอกจากนี้ญาติยังสามารถนำทักษะและความรู้ไปดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านได้
                    4.  ขยายผลการป้องกันแผลกดทับสู่ รพ.สต. ในเครือข่ายร่วมกับมีการติดตามเยี่ยมบ้านต่อเนื่อง
               คำสำคัญ : แผล Bed Sore
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90