Page 27 - รายงาน พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
P. 27
18
แรงจูงใจ ซึ่งหมายถึง ความต้องการที่ได้รับการกระตุ้นจากภายในตัวบุคคลที่ต้องการแสวงหาความ
พอใจด้วยพฤติกรรมที่มีเป้าหมาย แรงจูงใจที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์ ถือว่าเป็นความต้องการของ
มนุษย์
การจูงใจ หมายถึง พลังสิ่งกระตุ้น ที่อยู่ภายในตัวบุคคลซึ่งกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติ (Stanton
and Futrell, 1987 : 649)
2.3.2 การรับรู้ เป็นกระบวนการรับรู้ของแต่ละบุคคลซึ่งขึ้นอยู่ปัจจัยภายใน เช่น ความเชื่อ
ประสบการณ์ ความต้องการและอารมณ์ และยังมีปัจจัยภายนอกคือ สิ่งกระตุ้น การรับรู้จะแสดงถึง
ความรู้สึกจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รส กาย การสัมผัส ซึ่งแต่ละคนมีการรับรู้
แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพ ที่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นสิ่งเร้าต่าง ๆ ความสัมพนธ์
ั
ของสิ่งกระตุ้นเร้ากับสิ่งแวดล้อมใน ขณะนั้นเงื่อนไขของแต่ละบุคคลที่มีความต้องการ ทัศนคติ
ค่านิยมแตกต่างกัน
2.3.3 การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ของบุคคลการ
เรียนรู้ของบุคคลจะเกิดขึ้น เมื่อบุคคลได้รับสิ่งกระตุ้นและเกิดการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นนั้น
2.3.4 ความเชื่อ เป็นความคิดซึ่งบุคคลยึดถือเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจาก
ประสบการณ์ในอดีต
ึ
ึ
2.3.5 ทัศนคติ เป็นการประเมินความพงพอใจหรือไม่พงพอใจของบุคคล ความรู้สึกด้าน
์
อารมณและแนวโน้มการปฏิบัติที่มีผลต่อความคิดหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือ หมายถึง ความรู้สึกนึกคดของ
ิ
บุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งส่วนประกอบของทัศนคติ จะประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
2.3.5.1 ส่วนของความเข้าใจ ประกอบด้วย ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับตราสินค้า
หรือผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคของผู้บริโภค
2.3.5.2 ส่วนของความรู้สึก หมายถึง สิ่งที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกที่มีผลิตภัณฑ์
ตราสินค้า ความรู้สึกอาจจะเป็นความพอใจและไม่พอใจ เช่น การเกิดความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบต่อ
ผลิตภัณฑ ์
2.3.5.3 ส่วนของพฤติกรรม หมายถึง แนวโน้มของการกระท าที่เกิดจากทัศนคติ
หรือ การก าหนดพฤติกรรม ที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือตราสินค้า
2.3.6 บุคลิกภาพ เป็นรูปแบบลักษณะของบุคคล ที่จะเป็นตัวก าหนดพฤติกรรมการ
ตอบสนอง หรืออาจหมายถึงลักษณะด้านจิตวิทยาที่มีลักษณะแตกต่างของบุคคลซึ่งน าไปสู่การ
ตอบสนองที่สม่ าเสมอและมีปฏิกิริยาต่อสิ่งกระตุ้น
2.3.7 แนวคิดของตนเอง หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อ ตนเองหรือความคิดที่
บุคคลคิดว่าบุคคลอื่น สังคมมีการรับรู้ต่อตนเองอย่างไร (ศิริวรรณ เสรีรัตน์, 2541 : 130)