Page 138 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 138
129
เรื่องที่ 1 : แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้
ความหมายของการจัดการความรู้
การจัดการ (Management) หมายถึง กระบวนการในการเข้าถึงความรู้ และการถ่ายทอด ความรู้ที่
ต้องด าเนินการร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอาจเริ่มต้นจากการบ่งชี้ความรู้ที่ต้องการใช้การสร้าง และแสวงหา
ความรู้ การประมวลเพื่อกลั่นกรองความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การสร้างช่องทางเพื่อการสื่อสาร
กับผู้เกี่ยวข้อง การแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดการสมัยใหม่กระบวนการทางปัญญา เป็นสิ่งส าคัญในการคิด
ตัดสินใจ และส่งผลให้เกิดการกระท า การจัดการจึงเน้นไปที่การปฏิบัติ
ความรู้ (Knowledge) หมายถึง ความรู้ที่ควบคู่กับการปฏิบัติ ซึ่งในการปฏิบัติจ าเป็น ต้องใช้ความรู้
ที่หลากหลายสาขาวิชามาเชื่อมโยงบูรณาการเพื่อการคิดและตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติ จุดก าเนิดของความรู้
คือสมองของคน เป็นความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในสมอง ชี้แจงออกมาเป็นถ้อยค าหรือ ตัวอักษรได้ยาก ความรู้นั้นเมื่อ
น าไปใช้จะไม่หมดไป แต่จะยิ่งเกิดความรู้เพิ่มพูนมากขึ้นอยู่ในสมองของผู้ปฏิบัติ
ในยุคแรก ๆ มองว่า ความรู้ หรือทุนทางปัญญา มาจากการจัดกระบวนการตีความ สารสนเทศ ซึ่ง
สารสนเทศก็มาจากการประมวลข้อมูล ขั้นของการเรียนรู้ เปรียบดังปิรามิดตามรูป แบบนี้
ความรู้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่เป็นเอกสาร ต ารา คู่มือปฏิบัติงานสื่อต่าง ๆ
กฎเกณฑ์ กติกา ข้อตกลง ตารางการท างาน บันทึกจากการท างาน ความรู้เด่นชัดจึงมี ชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
“ความรู้ในกระดาษ”
2. ความรู้ซ่อนเร้น / ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน พัฒนาเป็น
ภูมิปัญญา ฝังอยู่ในความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ที่คนได้มาจากประสบการณ์สั่งสมมานาน หรือเป็นพรสวรรค์